การเพาะเลี้ยงไส้เดือน และผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน
การเพาะเลี้ยงไส้เดือน
การเพาะเลี้ยงไส้เดือน (Vermiculture)เป็นการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากไส้เดือนดิน โดยเฉพาะผลผลิตที่ได้คือปุยหมักมูลไส้เดือน (vermicom posting) เป็นการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นการจัดการทำให้สภาพแวดล้อมในระบบนิเวศเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การใช้ไส้เดือนเป็นตัวหลักในการจัดการเศษของเสียเพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัสดุที่ มีสารอาหารพืชสูงและพร้อมที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยใส่ลงในพื้นที่การเกษตรเพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ หรือเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางการค้าเป็นวัสดุในการปลูกไม้ดอกไม้กระถางหรือเป็นวัสดุสำหรับปลูกพืชอื่นๆอย่างหลากหลาย
สายพันธุ์ของไส้เดือน
ในประเทศไทย นิยมเลี้ยงไส้เดือนอยู่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่
- พันธุ์ Tiger Worm ลำตัวมีสีแดงสลับสีเหลืองเป็น ลายเสือ ลำตัวกลม มีขนาดเล็ก เป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทาน ต่อสภาพอากาศ ทนอากาศหนาวได้ถึง 0 °C และทนความร้อน ได้ถึง 40 °C
- พันธุ์ Blue worm เป็นไส้เดือนสายพันธุ์เอเชีย ตัวผอมยาว ลำตัวสีม่วงเข้มประกายสีน้ำเงิน เป็นไส้เดือนที่ เลี้ยงง่าย สามารถกำจัดขยะอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยหมัก และนิยม นำไปให้อาหารสัตว์น้ำ โดยเมือกจะมีกลิ่นหอมเหมือนดอกโมก
- พันธุ์ African Night Crawler (AF) มีสีน้ำตาล แดงปนเทา ตัวใหญ่ เคลื่อนไหวรวดเร็ว ชอบอุณหภูมิที่ ค่อนข้างร้อน สามารถผลิตมูลไส้เดือนได้เร็ว เป็นสายพันธุ์ที่ ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นที่ต้องการของตลาดจำหน่าย พันธุ์ไส้เดือน จึงทำให้มีราคาถูก ขายพันธุ์ได้ง่าย
การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน
การเลี้ยงไส้เดือนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เลี้ยง ตั้งแต่แบบง่ายๆ ใช้วัสดุในท้องถิ่น ลงทุนน้อย ไปจนถึงการทำโรงเรือนผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ลงทุนสูง เช่น เลี้ยงบนพื้นดินโดยทำกองเลี้ยงให้สูงจากพื้นเล็กน้อย หรือ ขุดร่อง เป็นแปลงลงบนพื้นดินปกติ หรือ ก่ออิฐฉาบปูนเป็นบล็อกเลี้ยงก็ได้ หรือถ้าผลิตปุ้ยขนาดใหญ่อาจสร้างโรงเรือนถาวร มีระบบการเลี้ยงที่เป็นระบบตั้งแต่การให้อาหารไปจนถึงการเก็บปุย สำหรับ หลังคากันแดด หรือฝน อาจทำด้วยวัสดุง่ายๆ เช่น มุงด้วยหญ้าคา ใบจาก หรือ ตาข่ายพรางแสงซาแรน) ไปจนถึงการใช้หลังคาที่มีโครงสร้างแข็งแรงอายุใช้งานได้นาน นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็ก ในครัวเรือน ซึ่งอาจประยุกตีใช้วัสดุที่มีอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ เช่น กะละมัง ถังพลาสติก ยางรถยนต์ วงบ่อปูนซีเมนต์ เป็นต้น
ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือนโดยทั่วไป อาจปฏิบัติได้ ดังนี้
- เลือกพื้นที่เรียบหรือไม่มีหินหรือเศษแก้วที่เป็นอันตราย นำดินร่วนปูพื้นกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 0.30เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่และปริมาณของขยะหรือของเสีย ให้ความชื้นกับพื้นวัสดุให้พอชื้นไม่ต้องแฉะ
- นำมูลวัวหรือเศษอินทรียวัตถุ โรยทับให้หนาประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วรดน้ำให้ ความชื้นอีกครั้ง
- นำไส้เดือนท้องถิ่นมาปล่อยในกอง รดน้ำกองไส้เดือนทุกวัน
- ไส้เดือนจะกินเศษอาหารและมูลวัวแล้วถ่ายมูลเป็นขุยบนกองเลี้ยง เก็บมูลทุกๆสัปดาห์แล้วนำมาตากในร่มไส้เดือน 1 กิโลกรัม จะผลิตขุยได้ประมาณ 10 กิโลกรัม ภายใน 45-60 วัน เมื่อวัสดุเพาะเลี้ยงหมดให้นำวัสดุเพาะเลี้ยงมาใส่ใหม่เหมือนขั้นตอนแรก โกยขุยไส้เดือนออกมากองข้างๆกองเดิมและเมื่อกองวัสดุเพาะเลี้ยงเดิมเริ่มแห้ง ไส้เดือนจะย้ายไปอยู่ด้านใต้ของกอง
- เก็บส่วนบนของกอง 3 ใน 4 ส่วนของกอง แยกไส้เดือนแล้วใส่ไส้เดือนกลับไปในกองใหม่
- ควรเปลี่ยนกองทั้งหมดภายใน 6 เดือน ทั้งนี้เมื่อกองเพาะเลี้ยงเริ่มแน่น ไส้เดือนไม่สามารถชอนไชได้ การเลี้ยงเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งปี ควรมีการสร้างกองไว้หลายๆกองและเก็บข้อมูลสลับกันไปได้ทั้งปี
สิ่งที่ควรคำนึง
- กองเพาะเลี้ยงหรือกระบะต้องทำในที่ร่มเพื่อป้องกันแสงแดดและฝนและจะต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอไม่ควรใช้ปุ๋ยคอกใหม่
- มูลวัวควรตากให้แห้งและควรบดก่อนนำมาใช้ การใช้มูลสัตว์ชนิดอื่นๆ ควรมีการผสมกับมูลวัวก่อน
- ไส้เดือน 1 กิโลกรัม มีจำนวนประมาณ 1,000 ตัว ซึ่งไส้เดือน 1 กิโลกรัม จะกินอาหารได้ 5 กิโลกรัมต่อวัน
- ไส้เดือน 10 กิโลกรัม จะกินอาหารได้ 1 ตันต่อเดือน และไส้เดือน 1,000 ตัว สามารถเลี้ยงในพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร
- ควรใช้ไส้เดือนสีเข้มที่พบบริเวณผิวหน้าดินถึงลึก 25 ชม. สำหรับเลี้ยงทำปุ๋ยมูลไส้เดือน
- ระหว่างฝนตกให้นำมูลวัววางตามยาวของกองเพาะเลี้ยงป้องกันไส้เดือนหลบหนี
รูปแบบการเลี้ยงไส้เดือนด้วยภาชนะแบบต่างๆ (อานัฐ ตันโช, 2551)
1 การเพาะเลี้ยงในถังน้ำหรืออ่างพลาสติก
- เลือกถังน้ำหรืองอ่างพลาสติก สำหรับเพาะเลี้ยงไส้เดือน ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 12 นิ้ว พร้อมหาอ่างสำหรับรองกันถังหรืออ่างเลี้ยง เจาะรูที่กันภาชนะเพื่อระบายน้ำมูลไส้เดือนและเจาะฝาปิดภาชนะเพื่อระบายอากาศแล้วนำเศษอิฐหรือก้อนหินเล็กๆ ใส่ในตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มแบนๆ วางไว้ที่ก้นถัง เพื่อให้น้ำระบายได้สะดวกและไม้อุดรูที่ก้นภาชนะ
- ทำพื้นเลี้ยงโดยผสมดินร่วนกับมูลวัว อัตราส่วน 4:1 แล้วรดน้ำให้ความชื้น 80-90 เปอร์เซ็นต์ นำวัสดุพื้นเลี้ยงที่ผสมแล้วใส่ลงในภาชนะให้มีความหนาจากก้นภาชนะอย่างน้อย 3 นิ้ว แล้วนำไส้เดือนมาปล่อยลงหนาแน่นประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (โดยพิจารณาจากปากภาชนะเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ใช้ไส้เดือน 1 กรัม)
- ใส่มูลวัวตรงกลาง 1 กอง เพื่อเป็นอาหารไส้เดือนและป้องกันไส้เดือนหนีจากสภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ควรนำน้ำยาล้างจานหรือสบู่มาทาที่บริเวณปากภาชนะ เพื่อป้องกันการเลื้อยหนีออกจากภาชนะเลี้ยงในระยะแรก
- ปิดฝาภาชนะเพื่อรักษาความชื้นและกันแมลง หรือสัตว์ศัตรูอื่น ๆ แล้วนำภาชนะไปตั้งไว้บริเวณที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่โดนแดดหรือฝน
- นำเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ให้ส้เดือนย่อยสลาย โดยให้บางๆ ป้องกันความร้อนจากการหมักหากไส้เดือนย่อยไม่ทัน ไส้เดือนอาจหนีออกจากภาชนะได้
2. การเลี้ยงไส้เดือนในวงบ่อซีเมนต์
- หาวงบ่อปูนซีเมนต์ที่มีพื้นและรูระบายน้ำ นำวงบ่อไปไว้ในบริเวณที่ร่ม ไม่โดนแดดหรือฝน อากาศถ่ายเทสะดวก แล้วล้างวงบ่อด้วยน้ำสะอาด 2-3 รอบ แล้วแช่ด้วยตันกล้วยทิ้งไว้ 3-5 วัน เพื่อลดความเค็มของปูนชีเมนต์
- นำก้อนอิฐหรือก้อนกรวดใส่ตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มวางไว้อุดบริเวณรูระบายน้ำด้านในวงบ่อใส่พื้นเลี้ยง (ดินร่วนผสมมูลวัวอัตรา 4 ต่อ 1) ใส่ในวงบ่อหนา 3 นิ้ว แล้วนำใส่ไส้เดือน 100 ตัว ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางวงบ่อซีเมนต์ 1 เมตร
- ทาสบู่หรือน้ำยาล้างจานบริเวณขอบบ่อเป็นแถบกว้าง 1-2 นิ้ว ป้องกันไส้เดือนหนี ทำการเติมมูลวัวและเศษขยะอินทรีย์บางๆ อย่าให้เกิดความร้อนจากการหมัก ปิดฝาบ่อด้วยวัสดุแผ่นเรียบที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ไม้อัด ฟิวเจอร์บอร์ด ที่เจาะรูระบายอากาศ บริเวณฝา
- คอยสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของไส้เดือนและอาจเติมขยะอินทรีย์ ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการย่อยของไส้เดือน
การแยกมูลไส้เดือน
เมื่ออาหารในกะละมังใกล้หมด จะต้องแยกตัวและมูลไส้เดือนเพื่อนำตัวไส้เดือนไปเลี้ยงใน อาหารใหม่ และนำมูลไส้เดือนไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การเก็บมูลไส้เดือนให้ใช้ตาข่ายที่ไส้เดือนสามารถลอดได้วางไว้บน bedding ใหม่ และใส่ bedding เก่าที่ต้องการแยกตัวและมูลไส้เดือนไว้ด้านบนตาข่าย ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ไส้เดือนจะย้ายไปอยู่ใน bedding ใหม่ จากนั้นนำไปผึ่งในที่ร่มให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 35% สังเกตได้จากเมื่อใช้มือเก็บมูลไส้เดือนและ ไม่ติดมือ ไม่รู้สึกเปียก จากนั้นนำมาร่อนด้วยตะแกรง ขนาด 3 มม. จะได้มูลไส้เดือนและกากมูลไส้เดือน (มูลวัว ที่ไส้เดือนกินไม่หมด) หลังจากแยกตัวและมูลไส้เดือนแล้ว มูลไส้เดือนสามารถนำไปใช้หรือบรรจุถุงจำหน่ายได้ ส่วนตัวไส้เดือนและกากมูลไส้เดือน ให้นำไปใส่ในอาหารใหม่เพื่อเลี้ยงไส้เดือนต่อไป
ประโยชน์จากการเลี้ยงไส้เดือน
- ทำให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุล
- ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น
- ช่วยระบายน้ำและอากาศในดิน
- เพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารแก่ดิน
- เป็นดัชนีบ่งชี้การปนเปื้อนในดิน
- สร้างรายได้จากมูลและพันธุ์ไส้เดือน
จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงไส้เดือน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ในการเลี้ยงไส้เดือนได้ไม่ว่าจะ เป็นมูลสัตว์ กะละมัง เศษผัก ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในครัวเรือนนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากเป็นการกำจัด ขยะอินทรีย์ได้แล้ว ยังได้ประโยชน์มากมาย และสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง