(คลิป) เลี้ยงปลาไหลนา ขั้นตอนการเตรียมบ่อ มือใหม่แบบละเอียด
เลี้ยงปลาไหลนา
เลี้ยงปลาไหลนา ปลาไหลเป็นปลาน้ำจืดที่คุ้นเคยของคนไทย ไม่เพียงเป็นวัตถุดิบชั้นเลิตในเมนูอาหารพื้นบ้าน หากยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ชุมชนปีละหลายล้านบาท แต่จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การขยายพื้นที่ของชุมชนเมืองการทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ และการปล่อยของเสียลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้ปริมาณปลาไหลจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง
ปลาไหล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monopterus albus Zuiew ปลาไหลที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่ค่อนข้างนิ่ง เช่น คูน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง เรียกว่า ปลาไหลบึง (swamp ee() ส่วนปลาไหลที่เจริญเติบโตในนาข้าว เรียกว่า ปลาไหลนา (rice-feld ee) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เอี่ยน” ปลาไหลอาศัยอยู่ตามพื้นโคลนที่มีซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสม ปกคลุมด้วยวัชพืชที่ชื้นแฉะ ในฤดูแล้งขุดรูลึก 1-1.5 เมตร ฝังตัวในลักษณะจำศีลใต้พื้นโคลน และสามารถอยู่อาศัยในที่แห้งแล้งได้นาน
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์
- เลือกพ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนัก 300 – 420 กรัม ลำตัวยาว 60 เซนติเมตร แม่พันธุ์ที่มีน้ำหนัก 70-250 กรัม ลำตัวยาว 29-50 เซนติเมตร ปล่อยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในสัดส่วน (เพศผู้ : เพศเมีย) 1 : 3 ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เมื่อลูกปลาไหลมีอายุ 2 อาทิตย์ นำแม่พันธุ์ออกจากบ่อซีเมนต์ เพื่อป้องกันการกินลูกตัวเอง
ความแตกต่างของปลาไหลนาเพศผู้และเพศเมีย
- ปลาไหลนาเพศผู้ ลักษณะภายนอกความยาวจะประมาณ 60 เซนติเมตรขึ้นไปและน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 300 กรัม ขึ้นไป ท้องจะไม่อูม ส่วนลำตัวจะยาวเรียว ช่องเพศ สีขาวซีดไม่บวม ลำตัวจะมีสีเหลืองคล้ำ
- ปลาไหลนาเพศเมีย ลักษณะภายนอกความยาวประมาณ 29.5 ถึง 60 cm น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 70 ML 250 กรัม ลักษณะช่องท้องจะอูมในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ส่วนลำตัวจะค่อนข้างอ้วนท้องป่อง ช่องเพศ จะมีสีแดงเรื่อ บวม ในช่วงถึงฤดูผสมพันธุ์ ลำตัวของปลาไหลเพศเมียจะเหลืองเปล่งปลั่ง
รูปแบบการวางไข่ปลาไหลนา
- การวางไข่บริเวณกอหญ้าหรือพืชน้ำ สำหรับปลาไหลเพศเมียและเพศผู้นั้นจะจับคู่ก่อหวอด ซึ่งเพศเมียจะใช้ปากในการดูดไข่ที่ผสมเชื้อแล้วพ่นติดกันหวอด เกาะเป็นกลุ่มบริเวณกอหญ้าบนผิวน้ำ
- การวางไข่ที่ปากรู สำหรับปลาไหลเพศเมียนั้นจะใช้ลำตัวดำดินปากรูให้เป็นโพรงสูงกว่าระดับน้ำประมาณ 1 milk เพื่อให้ไข่ลอยน้ำอยู่ในโพรงได้ ซึ่งตาหลังเลิกงานจะคอยระวังศัตรูอยู่ภายในรู และเฝ้าดูไข่จนกว่าลูกปลาไหลจะฟักเป็นตัวและเลี้ยงจนมีขนาด 3-4 นิ้ว ซึ่งลูกปลาไหลจะกินซากพืชและสัตว์หรือแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร
อาหารปลาไหล
ปลาไหลเป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร อาหารธรรมชาติของปลาไหล ได้แก่ หอย ปู กุ้ง กบ เขียด คางคก ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำอื่นๆ นอกจากนี้ อาหารปลาไหลที่เลี้ยงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- อาหารสำเร็จรูป
- อาหารสด
อาหารสำเร็จรูป
อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาไหลมีให้เลือกหลายยี่ห้อ มีทั้งแบบเม็ดและแบบผง อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาไหลมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ช่วยให้ปลาไหลเจริญเติบโตได้ดี
อาหารสด
อาหารสดสำหรับปลาไหล ได้แก่ หอยเชอรี่ หอยขม หนอนแดง กบ เขียด ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำอื่นๆ อาหารสดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่อาจเป็นแหล่งของโรคได้ จึงควรทำความสะอาดให้สะอาดก่อนนำมาให้ปลาไหลกิน
การให้อาหารปลาไหล ควรให้วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ปริมาณการให้อาหารขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของปลาไหล โดยปลาไหลขนาดเล็กให้วันละ 3-5% ของน้ำหนักตัว ปลาไหลขนาดกลางให้วันละ 2-3% ของน้ำหนักตัว และปลาไหลขนาดใหญ่ให้วันละ 1-2% ของน้ำหนักตัว
ควรให้อาหารปลาไหลในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป หากให้อาหารมากเกินไป ปลาไหลอาจอ้วนเกินไปและเสี่ยงต่อโรคต่างๆ หากให้อาหารน้อยเกินไป ปลาไหลอาจเติบโตช้าและขาดสารอาหาร
ควรให้อาหารปลาไหลในบริเวณที่สะอาด ไม่สกปรก เพื่อให้ปลาไหลกินอาหารได้อย่างปลอดภัย
ที่มาภาพประกอบ : sarakaset.com , Youtrube : บ่าวอีสาน เมืองน้ำดำ
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง