จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง Photosynthetic Bacteria(PSB)
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) เป็นแบคทีเรียพบกระจาย ทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม น้ำทะเลสาบที่มีความเป็นด่าง น้ำที่มี ความเป็นกรด น้ำพุร้อน น้ำทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย
ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
สามารถใช้ประโขชน์ได้หลายด้านใช้ได้กับทั้งพืช สัตว์ กำรบำบัดน้ำ และมนุษย์
1) ประโยชน์กับพืช
- ช่วยตรึง เพิ่ม ไนโตรเจนให้กับพืช
- ช่วยกำจัดแก็สไฮโดรเจนซัลไฟล์ ในดินจากกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ที่เป็นพิษต่อรากพืช
- ทำให้พืชโตเร็วขึ้น โดยการเพิ่มแร่ธาตุในดินและย่อยสลายแร่ธาตุในดินให้เด็กลงอยู่ในสภาพที่พืชนำมาใช้ได้
- เป็นตัวทำกระบวนการ รี ไซเคิล ให้กับธาตุ คาร์บอน , ในโตรเจน , และสารประกอบจำพวกซัลเฟอร์ ทำให้พืชใบเขียวนาน มัน และไม่เหี่ยวง่าย
- เป็นแหล่งรวมแร่ ธาตุต่างๆ ที่มีประ โยชน์ เช่น กรคอะมิโน ( Amino acids ), กรดนิวเคลียริค ( Nucleic acids ), สารประกอบทางกายภาพ ( Physiologically active compounds )และ โพลีแซคคาไรด์ ( Polysaccharides ) etc.
- ทำให้พืชมีผลสมบูรณ์ โตเร็ว แข็งแรง ทำให้รากพืชโตเร็ว โดยเพิ่มโปรตีน , แร่ธาตุและกรดต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช
2) ประโยชน์กับการปศุสัตว์
- ช่วยลดแก๊สและของเสีย หรือสิ่งปฏิกูลในเล้าสัตว์
- ทำให้น้ำหนักเพิ่ม โดยเพิ่มสารอาหารแร่ ธาตุที่จำเป็นต่อสัตว์
- ทำให้คุณภาพของเนื้อและสีของเนื้อดี รสชาติดีขึ้น
- ช่วยป้องกันให้สัตว์มีความทนทานต่อแบคที่เรียที่ไม่ดี ทำให้สัตว์มีชีวิตชีวา
- โปรตีนใน PSB ช่วยเพิ่มให้คุณภาพของเนื้อปลาดีขึ้น โดยเพิ่มสารอาหารเข้าไปทำให้ร่างกายของปลามีความสมดุล
- ทำให้มีอาหารของปลาเพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มแพลงตอนในน้ำมากกว่าเดิม 70 เท่า
- ช่วยป้องกันโรคที่เกิดมาจากแบคที่เรีย จำพวก บาซิลลัส และ ไมล์ว
- ปัจจุบันได้มีการทดลองการใช้ ALA ที่ผลิตจากแบคทีเรียสังเคราะห์แสงมาใช้รักษามะเร็งในส่วนต่างๆเช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งช่องปาก เป็นตัน
วิธีการใช้งานกับพืช ทำอย่างไร
- สัดส่วนการใช้มีมากมายหลายอัตราส่วนการ ใช้งาน แต่ที่ง่ายที่สุดคือ เทลงไปในน้ำเปล่าในภาชนะขนาดใดก็ได้ที่จะใช้ผสม สังเกตว่าน้ำเริ่มเปลี่ยนสีเข้มเป็นชมพูจางๆ เป็นอันนำไปใช้ได้
- การใช้งานควรฉีดพ่นที่ใบพืชหรือรดลงดินดี? จากการทดลองใช้มาและรวมรวมผลจากกลุ่มผู้ใช้ การรดหรือฉีดลงที่โคนต้นจะได้ผลกับพืชมากที่สูด เพราะเขาคือแบกที่รียเป็นสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ฮอร์โมนหรือสารอาหารและอาศัยอยู่ในดิน
- ระยะเวลาที่ต้องรดหรือฉีดพ่น? 7 วัน/ครั้ง หรือ 14 วัน/ครั้ง ก็ได้ ให้สังเกตว่าดินบริเวณที่เราปลูกพืชนั้นมีความชื้นที่เหมาะสมหรือไม่ ไม่แห้งไป ไม่เปียกไป เพราะ PSB และแบคที่เรียทั่วๆ ไปจะอาศัยและมีชีวิตได้ดีในดินที่มีความชื้น เปียกพอเหมาะ ถ้าขึ้นเปียกกำลังดี ก็ 14 วัน/ครั้ง หรือถ้า แห้ง ก็ถี่ขึ้น
วิธีการเพาะขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (PSB)
อุปกรณ์
- ไข่ไก่หรือไข่เป็ด ไว้เป็นอาหารจุลินทรีย์
- ขวดน้ำ ขนาด ลิตร แห้งสะอาด ไม่เปื้อนน้ำมัน ไม่เป็นตะไคร่
- ช้อน ถ้วยสำหรับตีไข่
- หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (PSB)
- น้ำสะอาด จาก บาคาล น้ำต้ม น้ำซื้อ น้ำจากเครื่องกรอง ห้ามนำน้ำจากคลองโดยตรง บ่อโอ่ง หรือน้ำที่กักเก็บไว้ เพราะจะมี สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ถ้ามีแต่น้ำคลองก็ให้นำน้ำมาแกว่งสารส้มให้ตกตะกอนก่อนแล้วนำน้ำใสๆมาใช้ได้ แต่นำมาทำหัวเชื้อไม่ดีเพราะอาจจะมีการปนเปื้อนของสาหร่ายและตะไคร่น้ำได้
ขั้นตอนการขยาย
เตรียมส่วนผสม ในอัตราส่วนผสม
- ไข่ไก่ 30 ซีซีๆ หรือ 3 ช้อนโต๊ะ
- หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1 ลิตร
- น้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีผสม
- ตีไข่ใส่ถ้วยให้ละเอียดตามปริมาณที่ต้องการผสม
- นำน้ำใส่ขวด 1 ใน 5 ส่วนของขวดขนาด 6 ลิตร
- ตักไข่ใส่ 3 ช้อนโต๊ะ เขย่าให้เข้ากัน
- ใส่หัวเชื้อ 1 ลิตร
- เติมน้ำให้เกือบเต็ม (ห่างจากปากขวด ประมาณ 1 นิ้ว) เหลือพื้นที่ให้มีอากาศ เขย่าขวดเบาๆ
- นำไปตากแดดหรือในที่มีแสงแดดรำไร ไม่จำเป็นต้องโดนทั้งวันประมาณ 7-15 วัน สีจะเข้มขึ้น สามาถนำไปใช้งานได้
** ถ้าจะเก็บไ ว้เป็นหัวเชื้อกวรตากแดดไว้ประมาณ 15 วันขึ้นไป หรือ เก็บไว้ 1 เดือนแล้วเติมอาหาร รอให้สีเข้มมากๆ แล้วนำมาขยาย หากต้องการขยายทีละมากๆ ควรใช้เครื่องปั่นไข่ ผสมส่วนผสมทั้งหมดตามอัตราส่วน หัวเชื้อจุลินทรีย์เคราะห์แสง 1 ส่วน น้ำ 5 ส่วน และอาหาร(ไข่)ให้คำนวนจากหัวเชื้อ+น้ำ : อาหาร ในอัตราส่วน 200 : 1 ในภาชนะใหญ่ๆรวมกันก่อน แล้วกรองหัวเชื้อและไข่ด้วยผ้าหรือตะแกรง ก่อนกรอกใส่ขวด นำไปตากแดดทุกขวดจะแดงเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
ที่มา : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา , www.withikaset.com
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง