เคล็ดที่ไม่ลับ ปลูกผักหวานป่า ยังไงให้รอด โตเร็วให้มียอดอวบอ้วน

เคล็ดที่ไม่ลับ ปลูกผักหวานป่า ยังไงให้รอด โตเร็วให้มียอดอวบอ้วน

ปลูกผักหวานป่า


สำหรับวันนี้ เราจะพาทุกท่านไปเรียนรู้เทคนิคเกี่ยวกับเรื่องการ ปลูกผักหวานป่า ยังไงให้รอด โตเร็วให้มียอดอวบอ้วน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจ เคยได้ยินมาว่า ปลูกต้นผักหวานป่าให้รอดนั้นไม่ง่าย แต่ถ้ารอดแล้วก็อยู่ยาวเป็น10 ปีเลยทีเดียว ว่าแล้ว ก็ลองปลูกต้นผักหวานป่าบ้างดีกว่า อยากรู้ว่ามันจะยากเหมือนที่เคยได้ยินมามั้ย

ผักหวานป่า สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่จะเติบโตได้ดีและเจริญงอกงามเร็วในดินที่มีอินทรียวัตถุตามธรรมชาติ ผักหวานป่าเป็นพืชที่ทนแล้ง ไม่ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำมาก ชอบที่โล่ง ดินร่วนปนทรายตามธรรมชาติ ผักหวานป่าจะชอบแสงแดดรำไรประมาณ 50 % ชอบร่มไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะขามเทศ ต้นสะเดา ต้นตะขบ ต้นแค ผักหวานป่าจะต้องมีม้พี่เลี้ยงให้ร่มเงาไว้ประมาณ 2-3 ปีในช่วงแรก ผักหวานป่าชอบอากาศร้อนช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน ผักหวานป่าจะให้ยอดดี แตกยอดมาก เมืองถึงช่วงฤดูฝน (มีฝนตก) ผักหวานป่าจะหมดยอดและเริ่มพักต้นเพื่อสะสมอาหารสร้างการเจริญเติบโตทางลำต้น

การขยายพันธุ์ผักหวานป่า นั้นสามารถทำได้ 4 วิธี ด้วยกันคือ

  • การเพาะเมล็ด
  • การตอนกิ่ง
  • การชำไหล(ราก)
  • การสกัดราก

ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป  และ การให้ผลผลิตที่ไวแตกต่างกันด้วย สำหรับเกษตรกรที่กำลังคิคจะปลูกผักหวานป่า  นั้นก็ต้องศึกษาหาข้อมูลประกอบ ให้ดีก่อนลงมือเพาะปลูก ว่าวิธีไหนเหมาะกับสภาพพื้นที่ของตัวเองมากที่สุด เพื่อลงอัตราการตาย ให้น้อยที่สุดครับ

ขั้นตอนการเพาะเมล็ด

  • ลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก เพื่อให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น การลอกเปีอกหุ้มจะต้องล้างออกให้สะอาด เพื่อไม่ให้เกิดการเน่าหรือเกิดเชื้อรา การลอกเปลือกหุ้มทำได้ด้วยการใช้ตะแกรงล้างให้สะอาด
  • นำเมล็ดที่ล้างสะอาดมาตากลมให้แห้งก่อนจะนำไปลงดินเพาะ จากนั้นนำเมล็ดไปวางเรียงในถาดเพาะ (ดินที่ใช้ในถาดเพาะต้องเป็นทรายล้วนเท่านั้นเพื่อไม่ให้รากหักหรือ ขาดตอนย้ายลงถุง)
  • ใช้ผ้าหนาคุมถาดเพาะไว้เพื่อมีความชื่นอยู่ตลอดเวลา พร้อมรดน้ำให้ชุ่มทุกวันให้ผักหวานงอกเร็วขึ้น จากนั้น 20-30 วันความยาวของรากจะยาวพอที่ย้ายลงถุง หลังจากย้ายลงถุงเรียบร้อยแล้วใช้เวลาอีก 3-4 เดือน จึงจะเริ่มแตกใบอ่อน

ปลูกผักหวานป่า

เทคนิคปลูกต้นผักหวานป่า มีดังนี้

เลือกใช้ต้น พันธุ์จากการเพาะเมล็ดมาปลูก จะให้ผลผลิตดีและอายุยืนกว่า แบบกิ่งตอน ปลูกพืชพี่เลี้ยงไว้ก่อนที่จะปลูกต้นผักหวานป่า เช่น ต้นมะขามเทศ ชะอม โสน กระถิน ต้นแค ฯลฯ พืชที่กล่าวมานี้จัดเป็นพืชตระกูลถั่วทั้งหมด เลือกปลูกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือจะหลายอย่างก็ได้ สำหรับเราเลือกใช้ต้นแค ซึ่งปลูกไปพร้อม ๆ กับต้นผักหวาน และต้นมะขามเทศ เป็นพืชพี่เลี้ยง

วิธีปลูกผักหวานป่า

  • เริ่มจากการขุดหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ระยะห่างของต้น 2×2 เมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 400 ต้น แล้วนำปุ๋ยคอกหรือปุยหมักที่สลายตัวดีแล้ว รองก้นหลุมปริมาณ 5 กิโลกรัม/หลุม และสารปรับสภาพดิน (จากสวน) คลุกเคล้าผสมกับหน้าดินจากนั้นเติมน้ำลงไปให้แฉะทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ก่อนปลูก
  • หลังจากครบกำหนดก่อนจะปลูกต้องงดการให้น้ำต้นกล้า 2 วัน เพื่อเวลาแกะดินจะได้ไม่แตกและรากจะได้ไม่ขาด
  • เติมน้ำใส่หลุมที่เตรียมไว้ให้แฉะเพื่อเตรียมปลูก จากนั้นฉีกถุงแล้วนำตันผักหวานลงไปในหลุมที่เตรียม ต้องปลูกให้ต้นกล้าสูงจากปากหลุม 5 เซนติเมตร พูนกลบด้วยหน้าดินเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังในหลุมปลูกจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
  • การเลือกพื้นที่ในการปลูกผักหวานป่านั้นจะต้องเลือกที่ที่มีร่มรำไร บริเวณที่ไม่มีน้ำขัง การย้ายต้นกล้า (การปลูก) ควรเลือกทำในช่วงเวลาเย็นหรือไม่มีแสงแดด

การดูแลต้นผักหวานป่า

  • ระวังอย่าให้สัตว์เข้าไปเหยียบย่ำและห้ามพรวนดินรอบต้นผักหวานเด็ดขาด เนื่องจากรากผักหวานป่าจะฟูและลอยอยู่หน้าดินหากกระทบมากอาจจะตายได้
  • การให้ปุ๋ยควรใส่อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คือช่วงก่อนฤดูการเก็บยอด และหลังฤดูการเก็บยอด โดยปุยที่ใส่จะต้องเป็นปุ๋ยขี้วัวที่หมักดีแล้ว (ขี้วัวเก่า) ใส่รอบๆ ห่างจากต้นประมาณ 1 ศอก ห้ามใส่ปุ๋ยเคมีเด็ดขาด
  • การกำจัดวัชพืชให้ทำในช่วงฝนตกชุกเท่านั้น เพื่อไม่กระทบกับราก ควรใช้มือหรือเครื่องตัดหญ้า ตัดแล้วเอาไปคลุมโคนต้นผักหวานป่าไว้
  • การกำจัดศัตรูพืช เช่น หอยทาก ป้องกันด้วยการใช้ปูนขวโรยรอบแปลงเพาะกล้า ถ้าผักหวานป่ายังอายุน้อยอยู่ไม่ควารเก็บยอด ต้องผักหวานอายุเกิน 2 ปี ก่อนถึงจะสามารถเก็บยอดได้ ไม่ควรใช้กรรไกรตัดกิ่งเพราะจะทำให้ผักหวานไม่แตกยอด ให้ใช้การหักหรือใช้มีดแทน

ปลูกผักหวานป่า

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

  • ผักหวานป่าจะเริ่มแตกยอดให้เก็บได้เมื่อมีอายุ 3 ปีขึ้นไป แในช่วงแรกจะยังแตกยอดไม่เยอะมากและจะค่อยๆเ ยอะขึ้นตามอายุและขนาดพุ่มของผักหวานป่าที่เพิ่มมากขึ้น
  • การเก็บยอดอ่อนผักหวานป่าที่แตกยอดออกมานั้นจะต้องมีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
  • การเก็บผลผักหวานป่าเพื่อนำไปเพาะพันธุ์ต่อจะต้องเก็บผลที่สุก (สีเหลือง) แล้วเท่านั้นจะให้ดีก็ต้องให้สุกเต็มที่ก่อนเพื่อเปลือกที่หุ้มเมล็ดอยู่นั้นจะได้หลุดออกง่ายขึ้น

ปลูกผักหวานป่า

ราคาขายผักหวานจะขึ้นอยู่กับว่าผลผลิตออกมาในช่วงนอกหรือในฤดู ราคาขายส่งในฤดู อยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท ขายปลีกกิโลกรัมละ 200 บาท หากขายนอกฤดูราคาจะเพิ่มขึ้นอีก 50 บาท คือขายส่งอยู่ที่ 200 บาท ต่อกิโลกรัม และขายปลีก 250 บาท ต่อกิโลกรัม โดยการขายส่งจะมีแม่ค้ามารับถึงที่ มีทั้งเจ้าประจำและขาจร เป็นรายได้ที่หาได้ตลอดทั้งปี


บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จ

เคล็ดลับพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จ

เคล็ดลับพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จ

เคล็ดลับพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จ ความสำเร็จเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ความสำเร็จนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จำเป็นต้องอาศัยความพยายาม วินัย และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เคล็ดลับพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จมีดังนี้

1. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน

เป้าหมายคือจุดหมายปลายทางที่เราต้องการไปให้ถึง การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เรามองเห็นทิศทางและโฟกัสไปที่สิ่งที่ต้องทำ เป้าหมายควรมีรายละเอียด เป็นไปได้ และวัดผลได้ เช่น ต้องการลดน้ำหนัก 10 กิโลกรัมภายใน 6 เดือน หรือต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคณะที่ต้องการให้ได้

2. วางแผนอย่างรอบคอบ

เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือวางแผนว่าจะทำอย่างไรให้ไปถึงเป้าหมาย แผนควรมีความเป็นไปได้ ครอบคลุมทุกขั้นตอน และมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับเปลี่ยนได้หากจำเป็น

3. ลงมือทำอย่างจริงจัง

การตั้งเป้าหมายและวางแผนเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการลงมือทำอย่างจริงจัง เราต้องมีความมุ่งมั่นและอดทนในการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ที่จะเข้ามาระหว่างทาง

4. เรียนรู้และพัฒนาอยู่เสมอ

โลกของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อที่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จในโลกที่เปลี่ยนแปลงนี้ เราสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น การศึกษา การอ่านหนังสือ การฝึกอบรม หรือการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น

5. มองโลกในแง่บวก

ทัศนคติของเรามีอิทธิพลต่อความสำเร็จของเราอย่างมาก หากเรามองโลกในแง่บวก เราจะมีความกระตือรือร้น เชื่อมั่นในตัวเอง และพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ

6. กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่องยาก แต่หากเรามีความมุ่งมั่นและตั้งใจ เราก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้

7. หาแรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราก้าวต่อไปข้างหน้าได้ เราสามารถหาแรงบันดาลใจได้จากหลากหลายแหล่ง เช่น บุคคลที่ประสบความสำเร็จ คนใกล้ตัว หนังสือ ภาพยนตร์ หรือสื่อต่างๆ

8. ยอมรับความล้มเหลว

ทุกคนย่อมล้มเหลวกันได้บ้าง สิ่งสำคัญคืออย่าย่อท้อต่อความล้มเหลว เราต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวและก้าวต่อไปข้างหน้า

เคล็ดลับเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางพื้นฐานในการพัฒนาตนเอง เราสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการของเรา สิ่งสำคัญคือเราต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จในชีวิต


บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1  สำหรับเลี้ยงสัตว์พร้อมวิธีทำหญ้ามัก

ปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1  สำหรับเลี้ยงสัตว์พร้อมวิธีทำหญ้ามัก

ปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1

ปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1


หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ตอบสนองต่อการให้น้ำและปุยดี แตกกอดี แก่ช้า ทนแล้ง ใบและลำต้นอ่อนนุ่ม ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี มีผลผลิตต่อไร่สูง ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้นานถึง 6-7 ปี อีกทั้งมีคุณค่าทางอาหารสัตว์ที่ดีตามที่สัตว์ต้องการ เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่น โคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ และแกะ นอกจากหญ้าเนปียร์จะให้ผลผลิตต่อไร่ สูงแล้ว ผลผลิตหญ้าสดที่เหลือจากการเลี้ยงสัตว์ สามารถนำมาเก็บถนอมไว้เลี้ยงสัตว์ได้ในยามขาดแคลนหรือช่วงหน้าแล้ง โดยวิธีการทำหญ้าหมักเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเน่าเสีย

การแปรรูปหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ให้เป็นหญ้าหมัก เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์สำรองในยามที่ขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ ทำให้เกษตรกรมีอาหารเลี้ยงสัตว์เพียงพอสำหรับการเลี้ยงสัตว์ตลอดทั้งปี และสามารถลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี

ลักษณะทั่วไปของหญ้าเนเปียร์

หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เป็นสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ใบและลำต้นอ่อนนุ่ม ขอบใบไม่คมและไม่มีขน ตอบสนองต่อการให้น้ำและปุ๋ยดี แตกกอดี แก่ช้า ปรับตัวได้ดีในดินหลายสภาพ ไม่ว่าจะเป็นดินร่วนปนทราย ดินเหนียว หรือดินลูกรัง ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี และมีความอุดมสมบูรณ์ ทนแล้ง แต่ไม่ทนน้ำท่วมขัง ต้องการปริมาณน้ำฝน ประมาณ 1,000 มิลลิเมตรต่อปี เมื่อเทียบกับอ้อยที่ต้องการน้ำฝน 1,200-1,500 มิลลิเมตรต่อปี ไม่มีโรคและแมลงรบกวน เก็บเกี่ยวง่าย ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้นานถึง 6-7 ปี เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่จำกัด

ปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1

การเตรียมดินปลูก

ระยะเวลาที่เหมาะต่อการเตรียมดินคือช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ดินมีความชื้นพอเหมาะง่ายกับการใช้อุปกรณ์การเตรียมดินและไม่เสี่ยงกับฝนตกในขณะปฏิบัติงาน การเตรียมดินที่ดีถูกต้องเหมาะสมควรปฏิบัติดังนี้

  • ก่อนไถเตรียมดิน ควรเก็บกรวด หิน ตอไม้ ออกจากแปลงปลูกให้หมด เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์ต่างๆ ขณะเข้าทำงานในแปลง
  • ควรประเมินความหนาแน่นรวมของดินหรือชั้นดินดาน เกษตรกรต้องเก็บตัวอย่างดินส่งให้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินของกรมพัฒนาที่ดินเขตใกล้บ้าน
  • การปรับหน้าดินแปลงปลูกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ ช่วยให้พื้นที่มีการระบายน้ำได้ดี การเข้าทำงานในแปลงง่ายและสะดวกขึ้น

ในกรณีที่แปลงปลูกเป็นดินเหนียวให้ใช้เครื่องพรวนโรตรี่มินิคอมบายหรือพรวนเพาเวอร์แฮโร่ส์ ซึ่งติดกับรถแทรกเตอร์ที่มีระบบไฮดรอลิกแบบ 3 จุด ซึ่งพรวนแบบอื่นๆ ไม่สามารถทำให้ดินแตกละเอียดพอที่จะหุ้มตาท่อนพันธุ์หญ้าได้ จึงจำเป็นต้องใช้พรวนแบบนี้มีลักษณะคล้ายจอบหลายๆ อัน ดินอยู่รอบเพลาหมุนและสับดินเป็นก้อนเล็กๆ การเตรียมดินให้ดีละเอียดร่วนชุยตลอดทั้งแปลง ทำให้ท่อนพันธุ์ที่ปลูกมีเปอร์เซ็นต์ความงอกดี ถ้าไม่พรวนเปอร์เซ็นต์ความงอกจะต่ำ  เนื่องจากหน่อหญ้าจากท่อนพันธุ์ไม่สามารถแทงรากลงพื้นดินได้

หญ้าเนเปียร์ปากช่อง

การเตรียมพันธุ์สำหรับปลูก

  • กรณีที่จะปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่นั้น ควรจัดทำแปลงพันธุ์เอง เพื่อลดต้นทุนการซื้อท่อนพันธุ์และการขนส่งจากแหล่งอื่นพื่อนำมาปลูก สามารถทำให้เราประหยัดต้นทุนได้
  • ควรใช้ท่อนพันธุ์หญ้าเนเปีร์ปากช่อง จากแหล่งที่เชื่อถือได้ ที่มีการจัดการดูแลแปลงอย่างถูกต้อง อายุของท่อนพันธุ์อยู่ในช่วงประมาณ 90-110 วัน
  • ช่วงหญ้าอายุ 1-90 วัน ควรสำรวจดูแลรักษาแปลงพันธุ์อย่างสม่ำเสมอให้มีการเจริญเติบโตดี ปราศจากโรคแมลง
  • อายุของท่อนพันธุ์ที่ผลิตจากแปลงพันธุ์ที่เหมาะสม อยู่ในช่วงประมาณ 90-110 วัน ท่อนพันธุ์จะเริ่มงอกรากออกมาก่อนและงอกตาตามที่หลัง ระบบรากที่แข็งแรงจะปลูกขึ้นดี ถ้ามีการจัดการดูแลอย่างดีแปลงพันธุ์ 1 ไร่ ตัดแต่ละครั้งให้ผลผลิตได้ประมาณ 15,000 กิโลกรัมต่อไร่
  • เมื่อตัดท่อนพันธุ์แล้ว ต้องปลูกให้เสร็จภายใน 4-5 วัน ถ้าทิ้งไว้จะทำให้ จุดเจริญของรากและตาเสียไป

ฤดูปลูกและวิธีการปลูก

ฤดูปลูก แบ่งเป็น 2 ฤดู คือ

  • เขตชลประทานหรือเขตที่ให้น้ำได้ ปลูกต้นฤดูฝนระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม
  • เขตอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ปลูกปลายฤดูแล้ง เป็นการปลูกข้ามแล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทราย

การดูแลรักษาหญ้ามีการเจริญเติบโต 3 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 ระยะงอก เริ่มปลูก – 1 เดือน (1 – 4 สัปดาห์) หญ้าใช้อาหารจากท่อนพันธุ์ และความชื้นในดิน ปุ๋ยรองพื้นช่วยให้รากแข็งแรง
  • ระยะที่ 2 ระยะแตกกอ หญ้าอายุ 1 – 1 เดือนครึ่ง (4 – 6 สัปดาห์) ต้องการน้ำและปุยไนโตรเจนมากเพื่อช่วยให้แตกกอและการเจริญเติบโตของหน่อ
  • ระยะที่ 3 ระยะย่างปล้องและสุกแก่ หญ้าอายุ 1 เดือนครึ่ง – 2 เดือน(6 – 8 สัปดาห์) ระยะที่กำหนดขนาดและน้ำหนักของใบและลำต้น เป็นช่วงที่หญ้าเจริญเติบโตเร็วที่สุด ถึงเก็บเกี่ยวจะเป็นระยะสะสมน้ำตาลจึงต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต ทั้งแสงแดด อุณหภูมิ น้ำและปุ๋ย

การเก็บเกี่ยว

เพื่อให้ระบบรากของหญ้าที่ปลูกใหม่มีระยะเวลาเจริญเติบโตแข็งแรง และยึดติดกับดินแน่นหนาพอที่จะไม่ทำให้กอหญ้าถูกถอนขึ้นเมื่อเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวหญ้าครั้งแรกที่อายุ 3 เดือนหลังปลูกถ้าเป็นหญ้าตอให้เก็บเกี่ยวทุกๆ อายุ 45-60 วัน วิธีการเก็บเกี่ยว ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ ใช้เครื่องเก็บเกี่ยวและใช้แรงงานคน

การทำหญ้าหมัก

หญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่างๆ ที่เก็บรักษาไว้ในสภาพความชื้นสูงในที่ไม่มีอากาศ หรือในภาชนะปิดที่ป้องกันอากาศ ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่าทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่ การทำหญ้าหมักจากหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เพื่อเป็นอาหารสำรองในยามที่ขาดแคลนพืชอาหารสัตว์

ประเภทของหญ้าหมัก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หญ้าหมัดสดและหญ้าหมักแห้ง

  • หญ้าหมัดสด คือ หญ้าหมักที่ได้จากการใช้พืชสด มีความชื้นสูงจากการตัดโดยตรงแล้วนำมาหมัก
  • หญ้าหมักแห้ง คือ หญ้าหมักที่ได้จากการใช้พืชสดนำมาผึ่งแดดระยะสั้นเพื่อไล่ความชื้นออกให้เหลือความชื้น แล้วจึงนำมาบรรจุหลุมหมักและต้องสับให้สั้นกว่าชนิดแรกเพื่อให้การอัดแน่นเป็นไปด้วยดี เนื่องจากความชื้นต่ำกิจกรรมจุลินทรีย์ 

การเตรียมการก่อนทำหญ้าหมัก

  • การเลือกพันธุ์หญ้า ควรเลือกพันธุ์หญ้าที่มีแป้งและน้ำตาลมาก เช่น ต้นข้าวฟางข้าวโพด นอกจากนั้นอาจใช้หญ้าเนเปียร์หญ้ามอริชัส หรือหญ้าอื่นๆ ที่มีลักษณะอวบน้ำ แต่การใช้ต้นหญ้าเหล่านี้จำเป็นจะต้องเติมกากน้ำตาลด้วย เพราะหญ้าเหล่านี้มีแป้งเป็นส่วนประกอบน้อย การหมักอาจได้ผลไม่ดีพอ
  • การเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์ทำหญ้าหมักประกอบด้วยอุปกรณ์การตัด การหั่นหลุมหมัก วัสดุคลุมปิดหลุม เช่น แผ่นผ้าพลาสติกหรือดิน กากน้ำตาล และอุปกรณ์สำหรับขนหญ้าลงหลุมหมักอุปกรณ์การตัดและหั่นหญ้า
  • การเตรียมหลุมหญ้าหมัก หลุมหญ้าหมักมีหลายแบบ เช่น แบบปล่อง ก่อด้วยคอนกรีตสูง 2-3 เมตร หรือมากกว่า แบบหลุมแบบร่องในดินเป็นแบบที่ต้องขุดร่องลึกตามที่ต้องการ แบบหลุมแบบรางบนผิวดินมีลักษณะเช่นเดียวกับแบบร่องในดิน แต่สร้างบนผิวดินแทน ปัจจุบันนิยมทำแบบรางบนผิวดิน เพราะสะดวกต่อการทำงาน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก

  • มีดสำหรับสับหญ้า
  • ถุงดำหรือถุงพลาสติก เพื่อบรรจุหญ้าสำหรับหมัก
  • สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากน้ำตาล เกลือ เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก
  • กระสอบยางรัดของ

วิธีการหมัก

  • เริ่มจากการหั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 เซนติเมตร
  • บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในถุงพลาสติก อัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด
  • ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในถุง ให้ใส่กากน้ำตาลเกลือ ลงไปด้วย โดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น
  • ใช้ยางรัดปิดปากถุง ที่บรรจุหญ้าให้สนิท เพื่อป้องกันอากาศและน้ำเข้านำไปเก็บไว้ในที่ร่ม ระวังอย่าให้ถุงมีรอยรั่วซึม
  • หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน

ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก

  • การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดีและหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด
  • การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก
  • เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง
  • หญ้าที่มาใช้หมักไม่ควรจะมีความขึ้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน
  • ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้

ข้อดีของหญ้าหมัก

  • สามารถทำได้ทุกฤดูกาลและใช้ทุกส่วนของต้นพืชให้เป็นประโยชน์
  • ใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาน้อย
  • หญ้าหมักมีลักษณะอวบน้ำสัตว์ชอบกิน
  • ลดอันตรายจากอัคคีภัยและสามารถเก็บรักษาได้นาน

ที่มา : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เอกสารอ้างอิง

  • กรมปศุสัตว์. (2554). หญ้าหมัก, เอกสารแนะนำ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ISBN 974-7608-81-2.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ซุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
  • กรมส่งเสริมการเกษตร. (2543). การขยายพันธุ์พืช.กรมส่งเสริมการเกษตร (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.sevicelink.doae.go.th/webpage/book%20PDF/innovation/n008.pdf (20 ธันวาคม 2561).
  • ไกรทอง เขียวทอง. (ม.ป.ป.). คู่มือการปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1.ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก :http://www.dpo.go.th/wp-content/uploads/2015/01.pdf.(20 ธันวาคม 2561).
  • www.sarakaset.com

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

การเพาะปลูก ถั่วแปบ ผักพื้นบ้านปลูกง่ายอายุยืนกินดีมีประโยชน์

การเพาะปลูก ถั่วแปบ ผักพื้นบ้านปลูกง่ายอายุยืนกินดีมีประโยชน์

ถั่วแปบ


ลักษณะทั่วไป

ถั่วแปบ (Lablab purpureous)  เป็นพืชตระกูลถั่ว มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ขึ้นได้ดีในพื้นที่ดินทราย ซึ่งโดยธรรมชาติดินชนิดนี้มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้น้อย แต่เนื่องจากเมล็ดถั่วแปบมีวัสดุคล้ายฟองน้ำ ซึ่งสามารถดูดซับความชื้นจากดินได้ดีกว่าเมล็ดพืชชนิดอื่น ๆ ได้หลายเท่า ทำให้ถั่วแปบงอกได้โดยใช้เวลาน้อยกว่า และอัตราการงอกสูงกว่า นอกจากนั้น ถั่วแปบมีระบบรากลึก ถือว่าเป็นพืชบำรุงดินที่ดีมากชนิดหนึ่ง แต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าไมยราบไร้หนาม เพราะต้องปลูกใหม่ทุกครั้ง ไม่สามารถสร้างคลังเมล็ดในดิน เนื่องจากเมล็ดไม่มีการพักตัว

การใช้ประโยชน์

  • ใช้ฝักอ่อน เมล็ด ใช้ประกอบอาหาร เช่นแกงส้ม ผักลวกจิ้มกับน้ำพริก
  • ใช้เป็นสมุนไพลบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้อาการแพ้
  • ใช้ปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์
  • ใช้ปลูกเป็นพืชสำหรับทำปุ๋ย หรือเป็นพืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

สำหรับวิธีการปลูกทำได้ 2 ลักษณะ คือ การปลูกเดี่ยว และการปลูกร่วมกับพืชอื่น

การปลูกเดี่ยว

ถั่วแปบเป็นพืชที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนวได้ง่าย เนื่องจากเมล็ดมีขนาดเท่ากับข้าวโพด สามารถปลูกโดยใช้เครื่องปลูกข้าวโพดได้ การปลูกเพื่อบำรุงดินให้ได้ผล ต้องมีจำนวนต้นประมาณ 25,000 ต้นต่อไร่ จะต้องระยะปลูกระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างต้น 12.5 เซนติเมตร (ปริมาณเมล็ดที่ใช้ 10 กิโลกรัมต่อไร่)

เนื่องจากถั่วแปบเป็นพืชที่ไวต่อช่วงแสง เช่นเดียวกับไมยราบไร้หนาม คือถั่วแปบมีการเจริญเติบโตทางลำต้นตลอดช่วงฤดูฝน และจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ดังนั้นถ้าจะปลูกถั่วแปบเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ควรปลูกในช่วงวันยาวคือปลายมีนาคมเป็นต้นไป แล้วไถกลบในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงฝนทิ้งช่วง เพื่อทำการปลูกข้าวโพดต้นเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าต้องการรวบรวมเมล็ดไว้ใช้ ควรปลูกตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม และเพื่อให้การเจริญเติบโตดีขึ้นและลดปริมาณเมล็ดหญ้าในแปลงปลูก ควรใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส  ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อไร่ และฉีดยาคุมหญ้าอาลาคลอร์หรือแลสโซ

การปลูกร่วมกับพืชอื่น

ถั่วแปบปลูกร่วมกับข้าวโพดหวานได้ดี โดยปลูกถั่วแปบแซมระหว่างต้นข้าวโพด เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้ว ตัดต้นข้าวโพดพร้อมถั่วแปบนำไปเลี้ยงโคได้ หรือปล่อยให้ถั่วแปบเจริญเติบโตอีก ประมาณ 1 เดือน แล้วไถกลบลงไปในดินเพื่อบำรุงดินต่อไป

คุณค่าสารอาหาร

ถั่วแปบเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้สารอาหารทางโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรท (กลูโคส กาแลคโตส และกลูตามิเนส) ไขมันชนิดฟอสฟาไทด์ แร่ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส สังกะสี รวมไปถึงวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี กรดแพนโรทีนิค

ถั่วแปบ

ถั่วแปบ ยังพบว่ามีสาร ไฟโตฮีแมคกลูตินิน (Phytohemagglutinine)ที่ช่วยในการเร่งการผลิตเม็ดเลือดขาวของร่างกาย ลำต้นของถั่วแปบยังพบว่ามีสารแคโรทีน หรือเบต้าแคโรทีน และสาร ลูเทียน (Lutein) ในส่วนของรากถั่วแปบมีเอนไซม์ชนิดหนึ่ง และกรดอะมิโนแยกอิสระอีกหลายชนิด จึงเหมาะแก่การปลูกถั่วแปบเพื่อบำรุงรักษาดิน

ที่มา : Sarakaset.com


บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เพกา (Oroxylum indicum) สมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร

เพกา (Oroxylum indicum) สมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร

เพกา (Oroxylum indicum)

เพกา (Oroxylum indicum)

สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมีความรู้และสาระดี ๆ เกี่ยวกับสมุนไพรรักษาโรคมาฝากคะ นั่นก็คือ เพกา (Oroxylum indicum) หรือ ลิ้นฟ้า เพกาหรือลิ้นฟ้า เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์หลากหลายมากมาย วันนี้แอดจะเอาเพกาหรือลิ้นฟ้า มาทำเป็นน้ำมันรักษาริดสีดวงทวารค่ะ ถือเป็นอีก 1 ทางเลือกของผู้ที่ป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารค่ะ

เพกา หรือ ลิ้นฟ้า

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์    ไม้ต้น ขนาดเล็ก ผลัดใบ สูงประมาณ 4 – 15 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลครีมอ่อนหรือสีเทา บางทีแตกเป็นรอยตี้นเล็กน้อย มีรูระบายอากาศกระจัดกระจายตามลำต้นและกิ่งก้าน

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 – 4 ชั้น ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก หนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง มีใบเดี่ยวๆ ขนาดใหญ่ที่ปลายก้านลักษณะรูปทรงกลม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ก้านใบยาว ใบย่อยลักษณะรูปไข่ โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียว ออกตรงข้ามชิดกันอยู่ประมาณปลายกิ่ง ก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบสีเขียวเข้ม

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ช่อมีขนาดใหญ่ออกที่บริเวณยอด มีก้านช่อดอกยาว มีดอกย่อยขนาดใหญ่ ลักษณะรูปปากเปิดแบบสมมาตรด้านข้างกลีบดอกหนา มี 5 กลีบ ภายนอก สีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ภายในสีเหลืองเปรอะๆ กึ่งสีชมพู โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปลำโพง ส่วนปลายแยกออกเป็นกลีบย่นขยุกขยิก บริเวณปลายกลีบดอกด้านในสีขาวอมเหลือง หรือขาวอมเขียว มีเกสรตัวผู้ 5 อันติดกับท่อดอก โคนก้านจะมีขน

ผล ผลเป็นฝักแบน ยาวคล้ายรูปดาบ ห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอด สีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ 45 – 120 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก

เมล็ด ลักษณะแบน มีปีกบางใสสีขาวจำนวนมาก

ประโยชน์ทางยา

  • ใบ มีรสฝาด ใช้ต้มดื่มแก้อาการปวดท้อง แก้ปวดข้อ และเจริญอาหาร
  • เปลือกต้น  มีรสฝาดขมเย็น เป็นยาฝาดสมานแผล ดับพิษโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ฟกช้ำ ป่นเป็นผงหรือยาชงดื่มแก้ขับเหงื่อ แก้ไขข้ออักเสบชนิดฉับพลัน ช่วยเจริญอาหาร ผงเปลือกผสมกับขมิ้นชันเป็นยาแก้โรคปวดหลังของม้า
  • ลำต้น   มีรสขม แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
  • ผลอ่อนหรือฝักอ่อน     มีรสขมร้อน ขับผายลม เป็นยาบำรุงธาตุ
  • ผลแก่หรือฝักแก่          มีรสขม แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  • เมล็ดแก่ มีรสขม เป็นยาอมแก้ไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน
  • เปลือกราก       รสฝาดขม แก้ปวดท้อง เป็นยาฝาดสมาน ยาบำรุง แก้บิด ท้องเสีย ขับเหงื่อ
  • ราก      รสฝาดขม เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง ช่วยเจริญอาหาร ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร ฝนกับน้ำปูนใสทาแก้อาการอักเสบ ฟกช้ำ บวม
  • ทั้งห้า (ผลแก่ ผลอ่อน เมล็ดแก่ เปลือกต้น ราก) รสฝาดขมเย็น เป็นยาสมาน แก้ไข้เพื่อลมและโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ท้องร่วง แก้อักเสบ ฟกบวม

สรรพคุณของเพกา หรือ ลิ้นฟ้า

  • ฝักอ่อนและยอดอ่อน จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้ลดลงได้
  • ฝักอ่อน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ หรือเรียกว่า ช่วยชะลอความแก่นั่นเอง
  • ใบ ช่วยบรรเทาอาการปวด – ไข้ ด้วยการที่เอาใบไปต้มน้ำดื่ม
  • รากและฝักอ่อน ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ
  • ฝักอ่อน มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถกินเหมือนผักทั่วไปได้เลย

เรามาเตรียมวัตถุดิบ ทำน้ำมันเพกาทาริดสีดวงทวารกันค่ะ

วัตถุดิบ น้ำมันเพกาทาริดสีดวงทวาร

  • เปลือกต้นเพกาสด 50 กรัม
  • น้ำมันมะพร้าว 25 ซีซี ( สกัดร้อนหรือสกัดเย็น หรือจะใช้น้ำมันงาแทนก็ได้ )

วิธีการทำ น้ำมันเพกาทาริดสีดวงทวาร

  • หั่นเพกา หรือลิ้นฟ้าให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปใส่ในเครื่องปั่นพร้อมกับน้ำมันมะพร้าวให้เข้ากัน
  • จากนั้นเทใส่หม้อสแตนเลส ตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวจนทุกอย่างเข้ากันดี ใช้เวลาในการเคี่ยวประมาณ 30 นาที
  • เสร็จแล้วให้กรองเอาแต่น้ำมัน รอให้เย็น หรือ อุ่นๆ กรอกใส่ขวดแก้วปิดฝาให้สนิท

วิธีใช้

  • ทาหัวริดสีดวงทวาร เช้า – กลางวัน – เย็น
  • ถ้าให้ได้ผลสัมฤทธิ์ ต้องกินยาควบคู่กันด้วย ( ปรึกษาแพทย์แผนไทย )
  • หรือทาหัวฝีมะเร็งที่ยังไม่แตก แล้วใช้พลาสติกห่อหุ้มอาหาร ห่อหุ้มบริเวณที่เป็นประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้ง เช้า – กลางวัน – เย็น
  • และให้งดของแสลง จำพวกปลาเมือกมัน เครื่องในสัตว์ทุกชนิด

น้ำมันทาริดสีดวงทวาร รักษาริดสีดวงทวาร กรณีหัวริดสีดวงทวารที่บานแล้วหรือทาฝีมะเร็งที่ยังไม่แตก เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมท่อน้ำเหลือง

** หมายเหตุ    เป็นยาใช้ภายนอก **


บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ผัดฉ่าไก่ใส่หน่อไม้ดอง แซ่บจัดจ้าน พร้อมวิธีทำ

ผัดฉ่าไก่ใส่หน่อไม้ดอง แซ่บจัดจ้าน พร้อมวิธีทำ

ผัดฉ่าไก่ใส่หน่อไม้ดอง

ผัดฉ่าไก่ใส่หน่อไม้ดอง


สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาทำ ผัดฉ่าไก่ใส่หน่อไม้ดอง กันค่ะ เป็นเมนูกับข้าวที่เผ็ดร้อนที่ทำไม่ยาก เครื่องผัดฉ่าสามารถซื้อได้ตามตลาด ราคาไม่แพง ผัดฉ่าไก่หน่อไม้ดองทานคู่กับไข่เจียว หรือ ไข่ต้ม ก็เข้ากันไม่น้อย ประโยชน์ของสมุนไพรที่ใส่จัดเต็ม ทำให้เมนูผัดฉ่าไก่หน่อไม้ดอง มีรสชาติ เผ็ดร้อน ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี เพราะมีทั้ง กระชาย เม็ดพริกไทยอ่อน เครื่องแกงเผ็ด ใบมะกรูด และพริกชี้ฟ้า นั่นเอง

เรามาลงมือทำผัดฉ่าไก่ใส่หน่อไม้ดอง กันเลยนะคะ

วัตถุดิบ

  • สะโพกไก่ 2  ชิ้น
  • พริกแกงเผ็ด 2  ช้อนโต๊ะ
  • เครื่องผัดฉ่า 1  แพ็ค
  • หน่อไม้ดองต้มแล้ว 3 ขีด
  • น้ำสะอาด 1 ถ้วยเล็ก
  • น้ำมันพืช สำหรับผัด      4 ช้อนโต๊ะ

เครื่องปรุงรส

  • ซอสหอยนางรม 3  ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 2  ช้อนโต๊ะ
  • ซอสปรุงรส 1  ช้อนโต๊ะ
  • ผงชูรส 1 ช้อนชา

วิธีทำ

  • ล้างไก่ด้วยน้ำให้สะอาด แล้วสับเป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการ แล้วพักไว้
  • ล้างหน่อไม้ดองให้สะอาด แล้วนำไปต้มประมาณ 5 นาที เทน้ำออก พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
  • ให้นำเครื่องผัดฉ่ามาล้างด้วยน้ำให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำพริกชี้ฟ้ามาหั่นเฉียงเตรียมไว้ แล้วฉีกใบมะกรูดที่มากับเครื่องผัดฉ่า ฉีกเตรียมไว้
  • ล้างพริกไทยอ่อนให้สะอาด แล้วพักไว้
  • เสร็จแล้ว ให้ตั้งกระทะไฟกลางๆ เทน้ำมันพืชลงไป รอให้น้ำมันร้อนนิดหน่อย แล้วจึงใส่ พริกแกงเผ็ดลงไปผัดให้หอม
  • เสร็จแล้วตามด้วยสะโพกไก่ที่สับไว้ ลงไปผัดให้สุกประมาณหนึ่ง แล้วเทน้ำสะอาดตามลงไป ผัดให้เข้ากันอีกครั้ง รอให้ไก่สุก
  • เสร็จแล้วใส่หน่อไม่ดองลงไป ผัดให้เข้ากัน แล้วตามด้วยกระชาย พริกไทยอ่อน ผัดให้เข้ากันอีกครั้ง
  • แล้วมาปรุงรสด้วย ซอสหอยนางรม ซอสปรุงรส น้ำปลา ผงชูรส ผัดให้เข้ากัน ชิมรสชาติตามที่ต้องการ แล้วใส่ใบมะกรูดลงไปในขั้นตอนสุดท้าย ผัดให้เข้ากันอีกที ปิดไฟ ตักใส่จาน พร้อมรับประทาน

เรียบเรียง : นงนุช

ที่มา : www.withikaset.com


บทความที่เกี่ยวข้อง

(คลิป) เลี้ยงปลาไหลนา ขั้นตอนการเตรียมบ่อ มือใหม่แบบละเอียด

(คลิป) เลี้ยงปลาไหลนา ขั้นตอนการเตรียมบ่อ มือใหม่แบบละเอียด

เลี้ยงปลาไหลนา





เลี้ยงปลาไหลนา ปลาไหลเป็นปลาน้ำจืดที่คุ้นเคยของคนไทย ไม่เพียงเป็นวัตถุดิบชั้นเลิตในเมนูอาหารพื้นบ้าน หากยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ชุมชนปีละหลายล้านบาท แต่จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การขยายพื้นที่ของชุมชนเมืองการทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ และการปล่อยของเสียลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้ปริมาณปลาไหลจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง

ปลาไหล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monopterus albus Zuiew ปลาไหลที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่ค่อนข้างนิ่ง เช่น คูน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง เรียกว่า ปลาไหลบึง (swamp ee() ส่วนปลาไหลที่เจริญเติบโตในนาข้าว เรียกว่า ปลาไหลนา (rice-feld ee) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เอี่ยน” ปลาไหลอาศัยอยู่ตามพื้นโคลนที่มีซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสม ปกคลุมด้วยวัชพืชที่ชื้นแฉะ ในฤดูแล้งขุดรูลึก 1-1.5 เมตร ฝังตัวในลักษณะจำศีลใต้พื้นโคลน และสามารถอยู่อาศัยในที่แห้งแล้งได้นาน

พ่อพันธุ์แม่พันธุ์

  • เลือกพ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนัก 300 – 420 กรัม ลำตัวยาว 60 เซนติเมตร แม่พันธุ์ที่มีน้ำหนัก 70-250 กรัม ลำตัวยาว 29-50 เซนติเมตร ปล่อยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในสัดส่วน (เพศผู้ : เพศเมีย) 1 : 3 ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เมื่อลูกปลาไหลมีอายุ 2 อาทิตย์ นำแม่พันธุ์ออกจากบ่อซีเมนต์ เพื่อป้องกันการกินลูกตัวเอง

ความแตกต่างของปลาไหลนาเพศผู้และเพศเมีย

  • ปลาไหลนาเพศผู้ ลักษณะภายนอกความยาวจะประมาณ 60 เซนติเมตรขึ้นไปและน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 300 กรัม ขึ้นไป ท้องจะไม่อูม ส่วนลำตัวจะยาวเรียว ช่องเพศ สีขาวซีดไม่บวม ลำตัวจะมีสีเหลืองคล้ำ
  • ปลาไหลนาเพศเมีย ลักษณะภายนอกความยาวประมาณ 29.5 ถึง 60 cm น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 70 ML 250 กรัม ลักษณะช่องท้องจะอูมในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ส่วนลำตัวจะค่อนข้างอ้วนท้องป่อง ช่องเพศ จะมีสีแดงเรื่อ บวม ในช่วงถึงฤดูผสมพันธุ์ ลำตัวของปลาไหลเพศเมียจะเหลืองเปล่งปลั่ง

รูปแบบการวางไข่ปลาไหลนา

  • การวางไข่บริเวณกอหญ้าหรือพืชน้ำ สำหรับปลาไหลเพศเมียและเพศผู้นั้นจะจับคู่ก่อหวอด ซึ่งเพศเมียจะใช้ปากในการดูดไข่ที่ผสมเชื้อแล้วพ่นติดกันหวอด เกาะเป็นกลุ่มบริเวณกอหญ้าบนผิวน้ำ
  • การวางไข่ที่ปากรู สำหรับปลาไหลเพศเมียนั้นจะใช้ลำตัวดำดินปากรูให้เป็นโพรงสูงกว่าระดับน้ำประมาณ 1 milk เพื่อให้ไข่ลอยน้ำอยู่ในโพรงได้ ซึ่งตาหลังเลิกงานจะคอยระวังศัตรูอยู่ภายในรู และเฝ้าดูไข่จนกว่าลูกปลาไหลจะฟักเป็นตัวและเลี้ยงจนมีขนาด 3-4 นิ้ว ซึ่งลูกปลาไหลจะกินซากพืชและสัตว์หรือแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร

อาหารปลาไหล

ปลาไหลเป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร อาหารธรรมชาติของปลาไหล ได้แก่ หอย ปู กุ้ง กบ เขียด คางคก ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำอื่นๆ นอกจากนี้ อาหารปลาไหลที่เลี้ยงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  • อาหารสำเร็จรูป
  • อาหารสด

อาหารสำเร็จรูป

อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาไหลมีให้เลือกหลายยี่ห้อ มีทั้งแบบเม็ดและแบบผง อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาไหลมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ช่วยให้ปลาไหลเจริญเติบโตได้ดี

อาหารสด

อาหารสดสำหรับปลาไหล ได้แก่ หอยเชอรี่ หอยขม หนอนแดง กบ เขียด ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำอื่นๆ อาหารสดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่อาจเป็นแหล่งของโรคได้ จึงควรทำความสะอาดให้สะอาดก่อนนำมาให้ปลาไหลกิน

การให้อาหารปลาไหล ควรให้วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ปริมาณการให้อาหารขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของปลาไหล โดยปลาไหลขนาดเล็กให้วันละ 3-5% ของน้ำหนักตัว ปลาไหลขนาดกลางให้วันละ 2-3% ของน้ำหนักตัว และปลาไหลขนาดใหญ่ให้วันละ 1-2% ของน้ำหนักตัว

ควรให้อาหารปลาไหลในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป หากให้อาหารมากเกินไป ปลาไหลอาจอ้วนเกินไปและเสี่ยงต่อโรคต่างๆ หากให้อาหารน้อยเกินไป ปลาไหลอาจเติบโตช้าและขาดสารอาหาร

ควรให้อาหารปลาไหลในบริเวณที่สะอาด ไม่สกปรก เพื่อให้ปลาไหลกินอาหารได้อย่างปลอดภัย

ที่มาภาพประกอบ : sarakaset.com , Youtrube : บ่าวอีสาน เมืองน้ำดำ




บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เมนู ซอยจุ๊ เมนูเด็ดสุดจัดจ้านจากภาคอีสาน ผ่านเนื้อดิบ

เมนู ซอยจุ๊ เมนูเด็ดสุดจัดจ้านจากภาคอีสาน ผ่านเนื้อดิบ

ซอยจุ๊

เมนู ซอยจุ๊


ซอยจุ๊ เป็นเมนูอาหารอีสานที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีลักษณะเป็นเนื้อวัวดิบและเครื่องในวัวหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ นำมาจิ้มกับน้ำจิ้มแจ่วขม รสชาติของซอยจุ๊นั้น มีทั้งรสหวาน เปรี้ยว เผ็ด และขมเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ล่ะท่านหรือร้านที่ขาย

ซอยจุ๊คืออะไร ?

ซอยจุ๊ เป็นเมนูอาหารที่เป็นเอกลักษณ์และมีต้นกำเนิดมาจากภาคอีสานของประเทศไทย โดยมีลักษณะเป็นอาหารชนิดที่ไม่ปรุงสุก ที่นำเนื้อวัวดิบและเครื่องในวัวอย่างตับ สไบนาง (ผ้าขี้ริ้ว) และขอบกระด้งมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยไม่มีการปรุงรสนำมาหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ และจิ้มในน้ำจิ้มแจ่วที่มีรสชาติเปรี้ยว-หวาน-เผ็ด-ขมเล็กน้อย แล้วแต่ความชอบ โดยจะประกอบด้วยส่วนผสมพิเศษที่ขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือ ดีวัวหรือขี้เพี๊ยะวัว

เมนูซอยจุ๊เนื้อนั้นจะมีความเข้มข้นทั้งในด้านรสชาติและกลิ่น มีประวัติความเป็นมาได้รับความนิยมในภาคอีสานของไทยเรามาอย่างยาวนาน จึงถือเป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลิ้มลองหรือสัมผัสรสชาติความเป็นอีสานแท้ ๆ ได้เลยทีเดียว เกริ่นนำกันมามากแล้ว เดี๋ยวเรามาเริ่มกันที่ส่วนผสม เครื่องปรุง และ เทคนิคการทำให้แซ่บ ว่ามีขั้นตอนวิธีทำอย่างไรบ้าง มาดูกัน

วัตถุดิบและเครื่องปรุง

  • เนื้อวัวสด และเครื่องในวัว ตับ สไบนาง (ผ้าขี้ริ้ว)
  • ข้าวคั่ว
  • พริกป่น
  • ดีวัวหรือขี้เพี๊ยะวัว
  • น้ำปลา
  • ผงชูรส
  • ต้นหอม
  • ผักชี
  • ผักชีฝรั่ง

วิธีทำ

  • เริ่มจากการนำเนื้อวัว ตับวัว สไบนาง และขอบกระด้งมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นเนื้อวัว ตับวัว สไบนาง และขอบกระด้งเป็นชิ้นพอดีคำจัดใส่จานพร้อมผักสดเตรียมไว้ จากนั้นก็มาทำน้ำจิ้มแจ่วขม

น้ำจิ้มแจ่วขม โดยใช้ส่วนผสมดังนี้

  • พริกป่น
  • น้ำปลา
  • ข้าวคั่ว
  • ต้นหอม
  • ผักชี
  • ดีวัว
  • เพลี้ยอ่อนต้ม

ปริมาณส่วนผสมหรือวัตถุดิบเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความชอบ สามารถเพิ่มเครื่องปรุงอื่นๆ เพิ่มเพลี้ยอ่อนลงไปด้วยได้ ขึ้นอยู่กับความชอบ อีกทั้งยังมีการเตรียมผักสด พริกสด หรือกระเทียมไว้เป็นเครื่องเคียงกินคู่กับซอยจุ๊ได้อีกด้วยครับ

ซอยจุ๊เป็นเมนูอาหารอีสานที่มีรสชาติเข้มข้น อร่อยแซ่บ นิยมกินเป็นกับแกล้มหรืออาหารว่าง ใครที่ชื่นชอบรสชาติอาหารอีสานไม่ควรพลาดเมนูนี้

ที่มา : sarakaset.com


บทความที่เกี่ยวข้อง

สูตร ไข่พะโล้ เนื้อไก่และน่อง พร้อมวิธีทำง่ายๆ อร่อยแน่นนอน

สูตร ไข่พะโล้ เนื้อไก่และน่อง พร้อมวิธีทำง่ายๆ อร่อยแน่นนอน

ไข่พะโล้

ไข่พะโล้


เชื่อหลายๆ ท่านต้องเคยรับประทานเมนู ไข่พะโล้ กันบ้างซึ่งสูตรการทำ ไข่พะโล้ ก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ล่ะพื้นที่แต่รสชาติหลักๆ อาจจะไม่แต่ต่างกันมากนัก ซึ่งวันนี้เรามีสูตรการทำ ไข่พะโล้ เนื้อไก่และน่อง พร้อมวิธีทำง่ายๆ มาฝากทุกท่านกันครับ เรามาดูกันว่ามีขั้นตอนการทำอย่างไร

เริ่มจาก การเตรียมส่วนผสม

  • ไข่ไก่ต้ม ประมาณ 5-10 ฟอง
  • เนื้อไก่และน่องไก่
  • รากผักชี
  • กระเทียม
  • ผงพะโล้
  • อบเชย
  • โป๊ยกั๊ก
  • พริกไทยดำ
  • น้ำตาลปี๊บ หรือ น้ำตาลทราย
  • ซีอิ๊วดำหวาน
  • ซอสหอย
  • ซอสปรุงรส
  • ซีอิ๊วขาว
  • น้ำเปล่า
  • ผักชีโรยหน้า เล็กน้อย
  • น้ำมันพืช

วิธีทำ

  • ต้มไข่ให้สุก แล้วปลอกเปลือกไข่พักไว้รอ จากนั้นโขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทยดำให้เข้ากัน
  • หม้อตั้งเตาไฟปานกลาง ผัดน้ำมัน เมื่อน้ำมันร้อนใส่ส่วนผสมที่โขลกลงผัด พอหอมจากนั้นใส่ผงพะโล้ อบเชย โป๊ยกั๊ก
  • ใส่น้ำตาลปิ๊บคนพอละลาย ใส่น้ำตาลทราย ผัดให้สีเข้ม เติมน้ำเปล่าเล็กน้อย ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส ซอสหอยนางรม ซีอิ๊วดำหวาน ผัดให้เข้ากัน
  • ใส่เนื้อไก่และน่องไก่คลุกให้ทั่วเติมน้ำพอปริ่มไก่ พอไก่เริ่มสุกเล็กน้อย ใส่ไข่ต้มลงไปแล้วเติมน้ำให้ท่วมไข่ พอน้ำเดือดลดไฟอ่อน ต้มต่ออีก 30 นาที พร้อมตักเสิร์ฟ โรยด้วยผักชี

ประโยชน์ของไข่พะโล้

ไข่พะโล้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี6 ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม เป็นต้น ไข่พะโล้ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และช่วยให้ระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : www.withikaset.com


บทความที่เกี่ยวข้อง

สมุนไพรใบบัวบก รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ บำรุงสายตาแก้ช้ำใน 

สมุนไพรใบบัวบก รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ บำรุงสายตาแก้ช้ำใน

สมุนไพรใบบัวบก

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามีสาระดีๆ มีประโยชน์ มาฝากค่ะ นั่นก็คือสมุนไพรไทย นั่นเอง สมุนไพรไทย ใครๆก็รู้ว่ามีสรรพคุณ ในการช่วยรักษา และบรรเทาความเจ็บปวดได้ แต่จะมีคนที่รู้ วิธีใช้ สมุนไพรอย่างดูวิธี  นั้นมีน้อย ส่วนใหญ่เราๆ จะใช้ยาฝรั่งซะส่วนใหญ่ ซึ่งวันนี้เรามีสูตรยาสมุนไพร ที่หา วัตถุดิบได้ง่าย และ วิธีการทำนั้นก็ไม่มีขั้นตอนอะไร ที่ยุ่งยากซับซ้อน มาฝากกันคะ

วัถุดิบ

  • ใบบัวบก ทั้งใบ ก้าน หัว ล้างให้สะอาด หั่นฝอย 1 กำมือ
  • ใบเตยหอม                                        1 ใบ
  • น้ำสะอาด                                         1 ลิตร
  • เกลือเล็กน้อย หยิบมือ
  • น้ำผึ้ง สำหรับแต่งรสชาติ

ขั้นตอน

  • ใส่ใบบัวบก ทั้งใบ ก้าน หัว ที่หั่นฝอย ใบเตย เกลือหยิบมือ ต้มด้วยน้ำสะอาด 1 ลิตร ต้มให้สุก กรองเอาแต่น้ำ  แต่งรสด้วยน้ำผึ้ง
  • อุ่นวันละ 1 ครั้ง

วิธีรับประทาน

  • เช้า – เที่ยง – เย็น ครั้งละ 1 แก้ว กาแฟ หรือ 60 cc.

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพร – หมอบ้าน วัดคีรีวงก์ ( วัดน้ำตก )


บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง