ไก่ดำภูพาน เลี้ยงง่ายโตไว ราคาดี ประโยชน์มากมาย
ไก่ดำภูพาน
พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นจากไก่ดำลูกผสมที่มีการเลี้ยงกันอยู่ในจังหวัดสกลนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่กระดูกดำของจีนและไก่พื้นเมืองสกลนครงานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2549 และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไก่ดำภูพาน โดยมีการพัฒนาปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์ จนได้ลักษณะที่มีความโดดเด่นคือ หนังดำ เนื้อดำ กระดูกดำ เป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ปล่อยให้หากินอิสระได้ หากินเก่ง ฟักไข่และเลี้ยงลูกได้เอง และไก่ดำยังมีสารสีดำที่เรียกว่า “เมลานิน” จำนวนมากกว่าไก่ทั่วไป ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูนอิสระตัวหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการชะลอความชราของเซลล์ และออกฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็ง
การพัฒนาสายพันธุ์ไก่ดำภูพาน
1. ไก่ดำภูพาน-1
ลักษณะประจำพันธุ์
- เพศผู้ ขนลำตัวสีดำ สร้อยคอและสร้อยหลังสีดำแซมแดง หงอนกุหลาบหรือหงอนถั่ว จะงอยปากดำ ตาดำ แข้งดำ เล็บดำ หนังดำ เนื้อดำ กระดูกดำ หางสั้นลักษณะทรงพู่
- เพศเมีย ขนสีดำทั้งตัว หงอนกุหลาบหรือหงอนถั่วขนาดเล็กกว่าเพศผู้ จะงอยปากดำ แข้งดำ เล็บดำ หนังดำ เนื้อดำ และกระดูกดำ
2. ไก่ดำภูพาน-2
ลักษณะประจำพันธุ์
- เพศผู้ ขนสีขาวทั้งตั๋ว หงอนกุหลาบหรือหงอนถั่ว จะงอยปากเทาดำตาดำ แข้งเทาดำ เล็บเทาดำ หนังดำ เนื้อดำหรือเทาดำ กระดูกดำ หางสั้นลักษณะทรงพู่
- เพศเมีย ขนสีขาวทั้งตัว หงอนถั่วขนาดเล็กกว่าเพศผู้จะง่อยปากเทาดำ แข้งเทาดำ เล็บเทาดำ หนังดำ เนื้อดำหรือเทาดำและกระดูกดำ
3. ไก่ดำภูพาน-3
ลักษณะประจำพันธุ์
- เพศผู้ ขนลำตัวสีเหลืองหรือแดง สร้อยคอและสร้อยหลังสีเหลือง หงอนกุหลาบหรือหงอนถั่ว จะงอยปากดำ สิ้นดำหรือเทาดำ ตาดำ แข้งดำ เล็บดำ หนังดำ เนื้อดำหรือเทาดำ กระดูกดำ หางสั้นลักษณะทรงพู่สีดำ
- เพศเมีย ขนสีเหลืองทั้งตัว หางสีดำหงอนถั่วขนาดเล็กกว่าเพศผู้ จะงอยปากดำ สิ้นดำหรือเทาดำ แข้งดำ เล็บดำ หนังดำ เนื้อดำหรือเทาดำ และกระดูกดำ
จุดเด่นของไก่ดำภูพาน
- สามารถเลี้ยงปล่อยให้หาอาหารกินตามธรรมชาติ
- ฟักไข่และเลี้ยงลูกได้เอง
- ทนทานต่อโรคระบาด และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
- เนื้อไก่ดำมีสาร เมลานิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการรักษาโรค บำรุงสายตา บำรุงระบบการได้ยิน ต้านเซลล์มะเร็ง ชะลอความชรา
- มีไขมันต่ำกว่าไก่ทั่วไป มีโปรตีนสูง ธาตุเหล็ก และแร่ธาตุสูงกว่าเนื้อไก่ทั่วไป
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ โดยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
- ลักษณะพ่อพันธุ์จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์แข็งแรง อายุตั้งแต่ ,เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปีและมีน้ำหนักตั้งแต่ 2. กิโลกรัม ขึ้นไป
- ลักษณะแม่พันธุ์จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์แข็งแรง อายุตั้งแต่เดือนแต่ไม่เกิน 3 ปี เลี้ยงลูกเก่ง มีนิสัยไม่ดุร้าย หรือจิกตีลูกไก่ของตัวอื่น
- พ่อพันธุ์ไก่ 1 ตัว สามารถคุมฝูง เพื่อผสมพันธุ์แม่ไก่ได้ไม่เกิน 10 ตัว และไม่ควรให้คุมฝูงนานเกินไปเพราะจะทำให้เกิดปัญหาเลือดชิดในฝูงได้
การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์
ไก่สาวจะเริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุประมาณ 6 – 7 เดือน เมื่อไก่เริ่มไข่ให้เปลี่ยนสูตร อาหารใหม่ให้มีโภชนะอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อไก่นำไปสร้างไข่ รวมทั้งเพิ่มแคลเซียมฟอสฟอรัส เพื่อนำไปสร้างเปลือกไข่ อาหารให้วันละ 90 – 100 กรัม มากกว่านี้ แม่ไก่จะอ้วนมากทำให้ไข่ลดลง ไก่พ่อพันธุ์ควรให้อาหารเช่นเดียวกับแม่พันธุ์ การให้อาหาร อยู่ระหว่าง 70 – 80 กรัม/ตัว/วัน
รูปแบบการเลี้ยงไก่
- การเลี้ยงแบบปล่อย เป็นวิธีเลี้ยงไก่ปล่อยให้ออกหากินอย่างอิสระในตอนเช้า ผู้เลี้ยงอาจจะเสริมอาหารให้ในตอนเย็น ช่วยให้ไก่เจริญเติบโตได้ดีขึ้น และเล้าขนาดเล็กไว้ให้ไก่ได้หลับนอนเฉพาะกลางคืนการเลี้ยงแบบปล่อยนี้จะช่วยให้ไก่ได้ออกกำลังกายมีสุขภาพที่แข็งแรงแต่ต้องมั่นใจว่า พื้นที่ที่ปล่อยจะไม่มีไก่พื้นเมืองอยู่บริเวณใกล้เคียงเพราะอาจมีปัญหาในการผสมข้ามพันธุ์
- การเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย เป็นการเลี้ยงที่พัฒนามาจากการเลี้ยงไก่แบบปล่อยมากักขังบ้างในบางช่วง โดยการสร้างเล้าไก่ให้มีขนาดกว้างขึ้นมีริ้วล้อมกั้นกันไม่ให้ไก่ออกไปหากินไกลๆ จัดหาน้ำและรางอาหารไว้ให้ไก่กินรูปแบบการเลี้ยงนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีการเลี้ยงที่ดี และเหมาะสมที่สุด
- การเลี้ยงแบบขังเล้า โดยเกษตรกรต้องสร้างเล้าไก่ที่สามารถกันแดดกันลม และฝนได้ ควรมีรังไข่วางเป็นจุดตามมุมหรือฝาเล้าพร้อมอาหารและน้ำให้ไก่ได้กินตลอดเวลาการเลี้ยง แบบขังเล้าสามารถป้องกันโรคระบาดได้ดี
การฟักไข่ สามารถแบ่งได้ 2 วิธี
- การฟักไข่โดยวิธีธรรมชาติ หรือการฟักไข่โดยแม่ไก่ เมื่อไก่ดำภูพานอายุประมาณ 6 – 7 เดือน จะเริ่มให้ไข่ชุดแรกประมาณ 10 – 15 ฟอง/ตัว เมื่อแม่ไก่ไข่หมดชุดก็จะเริ่มฟักไข่ในขณะฟักไข่ระยะแรกแม่ไก่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในรังวางไข่ เมื่อระยะช่วงฟักไข่แม่ไก่จะใช้เวลาฟักไข่เพิ่มมากขึ้น ขณะฟักไข่แม่ไก่จะทำการเขี่ยไข่ (กลับไข่) วันละประมาณ 6 ครั้ง เพื่อให้ไข่ทุกฟองได้รับความอบอุ่นจากการฟักใกล้เคียงกัน หลังจากฟักไข่ได้ 20 วัน ลูกไก่จะเริ่มเจาะเปลือก ในวันที่ 22 นำแม่ไก่และลูกลงจากรังฟักไข่ และขังสุ่มให้อาหาร และน้ำอย่างน้อย 7 วัน จึงปล่อยให้แม่และลูกหากินตามธรรมชาติ
- การฟักไขโดยใช้เครื่องฟัก หลังจากผสมพันธุ์และทำการเก็บรวบรวมไข่ได้ 7 วัน ก่อนนำไข่เข้าฟักต้องทำการคัดไข่ที่มีรอยแตกร้าว เปลือกไข่บาง ไข่ผิดรูปหรือไข่ฟองที่เล็กเกินไปออก ตรวจเช็คเครื่องฟักไข่ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน เช่น อุณหภูมิตู้ฟัก 37.8 ” C ความชื้นสัมพัทธ์ 60 % อุณหภูมิตู้เกิด 36.5 “C ความชื้นสัมพัทธ์ 70 % เมื่อเก็บไข่สะสม ได้ๆ วัน ก็นำมาจัดเข้าเครื่องฟักซึ่งจะมีการกลับไข่ วันละ 6 ครั้ง (6 ครั้ง/ 24 ชั่วโมง)ส่องไข่เมื่อนำไข่เข้าฟัก 7 วัน เพื่อนำไข่ไม่มีเชื้อและไข่เชื้อตายออกจากการฟักการ และส่องไข่เมื่อนำเข้าฟัก 18 วัน เป็นการส่องไข่ก่อนนำเข้าตู้เกิด หลังจาก อยู่ในตู้เกิด 3 วัน (วันที่ 21) ลูกไก่ก็เจาะเปลือกไข่ออกมาได้เก็บไว้ใน ตู้เกิด 1 วัน จากนั้น ในวันที่ 22 นำลูกไก่ออกจากตู้เกิดย้ายไปอนุบาล ในโรงเรือน อนุบาลต่อไป
การเลี้ยงไก่เล็ก
กรณีใช้ตู้ฟักไข่หรือการแยกลูกไก่ออกจากแม่ไก่เพื่อให้แม่ไก่ไข่เร็วขึ้นหรือซื้อลูกไก่มาเลี้ยงลูกไก่ต้องการความอบอุ่นจึงจำเป็นต้องมีการกกไฟให้ลูกไก่โดยใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 100 วัตต์ แขวนสูงจากพื้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และต้องระวังไม่ให้ลมโกรกลูกไก่และจะต้องมีอาหาร และน้ำให้กินตลอดเวลา พื้นคอกรองพื้นด้วยแกลบหนา 5 เชนติเมตร และเปลี่ยนแกลบทุก 1 เดือน
การเลี้ยงไก่รุ่น
ไก่ช่วงอายุ 8 – 16 สัปดาห์ ไก่ช่วงนี้ไม่ต้องดูแลมากเพราะถ้าเลี้ยงแบบปล่อยไก่สามารถหาอาหารกินเองได้เพียง แต่ให้อาหารในตอนเช้า หรือเย็นเท่านั้นถ้าเลี้ยงเพื่อต้องการจำหน่ายเป็นไก่เนื้อจำเป็นที่จะต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหาร และน้ำเพื่อการเจริญเดิบโตที่เร็วไก่อายุ 4 – 5 เดือน เป็นช่วงที่สามารถจับจำหน่ายเป็นไก่เนื้อได้น้ำหนักประมาณ 0. – 1.2 กิโลกรัม ซึ่งไก่มีขนาดและน้ำหนักตรงกับความต้องการของตลาด
การให้อาหาร
- ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุก ๆ วัน
- ให้อาหารเช้าและเย็น เพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามธรรมชาติ เช่น ปลายข้าว รำข้าว ข้าวเปลือก อาหารไก่สำเร็จรูป
- มีเปลือกหอยปั่นและเศษหินให้ไก่กินเพื่อเสริมแคลเซียมและช่วยบดย่อยอาหาร และให้หญ้าสดหรือใบกระดินสดให้ไก่กินทุกวัน
โปรแกรมวัคซีน
- วัคชีนนิวคาสเชิล ไก่อายุ 1 และ 30 วัน โดยการหยอดจมูก (ทำซ้ำทุกๆ ๓ เดือน)
- วัคชีนผีดาษไก่ ไก่อายุ 14 วัน โดยการแทงปีก (ปีละ 1 ครั้ง)
- วัคชีนอหิวาต์ไก่ ไก่อายุ 1 เดือน โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ทำซ้ำทุกๆ 3 เดือน)
- วัคชีนหลอดลมอักเสบ ไก่อายุ 7 วัน โดยการหยอดจมูก (ทำช้ำทุกๆ 3 เดือน)
การสุขาภิบาล
- ดูแลความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในโรงเรือนและบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำสะอาด และยาฆ่าเชื้อโรคทุกวัน
- ลักษณะโรงเรือนต้องระบายอากาศได้ดี ป้องกันลมโกรก หรือฝนสาดด้านหน้า ประตูเข้าโรงเรือนต้องมีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับจุ่มเท้าก่อนเข้าโรงเรือน
ที่มา : งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
บ้านนานกเค้า หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์: 042-747470-9 ต่อ 620
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง