เลี้ยงหอยขม ทางเลือกอาชีพเสริมสร้างรายได้
เลี้ยงหอยขม
หอยขม ไม่ได้นิยมแต่ทำอาหารอย่างเดียว สำหรับใครที่อยากเลี้ยงไว้เพื่อไปจำหน่ายให้คนที่เขาชอบสะเดาะเคราะห์ก็มีมากมายตามวัดทั่วไปได้บุญด้วยเป็นอาชีพด้วย เลี้ยงไม่ยากแถมสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว หอยขมไม่ได้ขมสมชื่อใครปล่อยหอยขมเพื่อเสริมดวงก็จะทำให้ไม่ต้องทุกข์ระทมขมขื่นตามความเชื่อของแต่ละบุคคล และถ้าใครชอบทานหอยขมก็มากมายเมนูที่จะคิดสรรกันมาทำ ไม่ว่าจะเป็นตำหอยขม,ยำหอยขม, ชั้วหอยขม, ก้อยสุกหอยขม, ลาบหอยขม, แกงอ่อมหอยขม, แกงคั่วหอยขม, หอยขมผัดฉ่า, หอยขมผัดพริกแกง เมนูเด็ดๆ ทั้งนั้น หอยขมเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายที่สุด คิดจะเลี้ยงเพื่อเป็นงานอดิเรกหรือเลี้ยงเพื่อหารายได้เสริม การเลี้ยงหอยขมต้นทุนน้อย รายได้ก็ดีพอสมควรขึ้นอยู่กับปริมาณ และการใส่ใจดูแลของเรา
หอยขม เป็นสัตวน้ำเลี้ยงง่าย และทนต่อสภาพน้ำเสียได้ดีจึงน่าจะเป็นสัตว์น้ำที่ควรได้รับความสนใจประกอบกับข้อมูลต่างๆ ทางด้านการเลี้ยงหอยขมในกระชัง เพื่อลดการเก็บหอยตามลำคลองที่น้ำไม่สะอาด และยังสร้างความปลอดภัย ให้การบริโภคโดย ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างได้อีกทางหนึ่ง
การเตรียมพันธุ์หอยขม
โดยทั่วไปให้เตรียมวงบ่อละ 1 – 2 กิโลกรัม อาจรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วไป แต่ควรเลือกตัวที่มีขนาดใหญ่ ไซส์เดียวกับที่นำมาบริโภคได้ แล้วนำหอยขมที่รวบรวมได้ล้างทำความสะอาด และขังหอยทิ้งไว้ 1 วัน เพื่อให้หอยคายตะกอนออกมา ขณะเดียวกันก็คัดเลือกหอยขมที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยสังเกตได้จากการนำหอยขมไปแช่น้ำทิ้งไว้ ถ้าหอยขมคว่ำตัวติดกับภาชนะแสดงว่าหอยขมยังมีชีวิตอยู่
การเลี้ยงและดูแลหอยขม
การเลี้ยงและดูแลหอยขม โดยปกติหอยขมจะดูดกินอาหารจากตะไคร้น้ำที่จับตามกิ่งไม้หรือทางมะพร้าวที่เราใส่ลงไปในบ่อ และหอยขมจะดูดกินซากเน่าเปื่อยของใบไม้ปริมาณในการใส่ควรใส่ให้เหมาะสมไม่ใส่มากจนเกินไปน้ำจะเน่าเร็ว การเปลี่ยนน้ำและล้างบ่อก็ใช้การดูดน้ำออกทางสายยางและปล่อยน้ำเข้าเพื่อล้างซากที่เน่าในน้ำ เปลี่ยนประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง หรือให้สังเกตุดูว่าน้ำเน่าและส่งกลิ่นก็สามารถเปลี่ยนได้เหมือนกัน
หอยขม เป็นหอยน้ำจืดมีให้เห็นทั่วไปทุกภาค เขาจะอยู่ตามแหล่งแม่น้ำลำคลองทุ่งนาคือหอยขมชอบอยู่ตามแหล่งน้ำที่นิ่งน้ำไม่ลึกมากไม่เกิน 1-2 เมตร และเขาชอบอยู่มากถ้าตรงไหนมีโคลนตมหรือมีเศษไม้ไม้ทับทมกันเยอะๆ หอยขมจะชอบขึ้นมาหาอาหารกินตอนกลางคืนเขาจะมาเกาะกลุ่มกันดูดตะไคร้น้ำตามริมตะลิ่งหรือกิ่งไม้ ถ้ามีแดดร้อนเขาก็จะเคลื่อนตัวลงไปอยู่ใต้โคลนดินหรือใต้ซากใบไม้รากพืชที่อยู่ใต้น้ำ
หอยที่มีเพศทั้งผู้และเพศเมียในตัวเดียวกัน จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวเองหรืออาจะมีผสมพันธุ์ข้ามตัวก็มี หอยขมเลี้ยงง่ายขยายพันธุ์เร็วเลี้ยงไม่นานก็ออกลูกและสามารถนำมาขายหรือรับประทานได้แล้ว จึงมีหลายพื้นที่ที่นิยมเลี้ยงหอยขมกัน เลี้ยงหอยขมก็จะมีทั้งเลี้ยงแบบในบ่อน้ำใหญ่ที่เคยเลี้ยงปลาก็สามารถเลี้ยงได้ หรือในบ่อปูน บ่อกลมปูนได้หมด
การให้อาหารหอยขม
นอกจากเศษใบไม้ที่ใส่ลงไปแล้วก็สามารถใส่ปัยคอกเสริมเล็กน้อยหว่านประมาณ 1กำมือ ก็พอและก็รำข้าวเสริมด้วยก็ได้หอยขมที่นำมาเลี้ยงถ้าเป็นตัวที่ใหญ่พร้อมจะเป็นพ่อแม่พันธุ์ก็จะใช้เวลาไม่นานที่เขาจะผสมพันธุ์ และออกลูกเร็วก็เลี้ยงประมาณ 3 เดือน หรือสังเกตดูว่าลูกหอยใหญ่ขึ้นมาระดับหนึ่ง เราก็คัดเอาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออก จะคัดขายหรือเก็บไว้เพาะในบ่อใหม่ก็ได้ ซึ่งหอยขมตัวหนึ่งจะสามารถออกลูกหอยได้ประมาณ 30-50 ตัว และหลังจากที่คัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์หอยขมออกแล้ว อีกประมาณ 2 เดือน ก็คัดเอาหอยขมที่ได้ขนาดออก จะสามารถเก็บได้เรื่อยๆ ในระยะเวลาทุกๆ 2 – 3 เดือน จะเห็นได้ว่าสามารถเก็บหอยขมได้ตลอดทั้งปีเลยทีเดียว
การกำจัดแมลงหรือศัตรูที่สำคัญของหอยขม ที่ต้องคอยระวังโดยเฉพาะลูกอ่อน ได้แก่ ปลาไหลปลาดุก ตะพาบน้ำ และยาปราบศัตรูพืช จึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย
การเตรียมสถานที่ และวิธีการเลี้ยงหอยขม
วิธีเตรียมบ่อปูนซีเมนต์ในการเลี้ยงหอยขม การเตรียมบ่อในการเลี้ยงหอยขม สำหรับบ่อปูนกลมการเตรียมบ่อใหม่ ก็จะทำการฆ่าเชื้อและกลิ่นของปูนถ้าบ่อปูนซื้อมาใหม่ ให้ทำการแช่น้ำด้วยด่างทับทิม ถ้าบ่อขนาด 80 เซ็น ก็ใส่ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะหรือ บ่อ 1 เมตร ก็ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ แช่ไว้ประมาณ 3-4 วัน หรือจนหมดกลิ่น หากอยากแช่ด้วยใบหูกวางและก็เกลือทะเลก็ได้
- เมื่อแช่บ่อจนบ่อหมดกลิ่นแล้วก็ล้างให้สะอาด
- บ่อที่ซื้อมาควรทำท่อน้ำล้นไว้ด้วย เพื่อกันไม่ให้น้ำล้นหอยจะไม่ไต่หนี
- ใส่ดินโคลนตมหรือดินร่วนปนทรายประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ของบ่อ น้ำประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ใส่พืชน้ำกิ่งไม้, ก้านมะพร้าว ให้เขาได้เกาะและดูดกินอาหาร สำหรับผักตบชวาก่อนนำลงในบ่อก็ควรแช่ด่างทับทิบ เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย เมื่อนำมาเลี้ยงหอยขมเขาจะได้ไม่ติดเชื้อ
- ก่อนใส่หอยลงในบ่อ ให้ใส่น้ำหมักชีวภาพหรือสะดวกก็ใส่ :M ที่หาซื้อได้ง่าย ใส่ประมาณ 1 ฝา และก็กากน้ำตาล 1 ฝา
- ควรใส่ทุกอย่างเตรียมก่อนปล่อยหอยขมลงปล่อยประมาณ 5 – 10 วันก็จะเป็นการดีเพราะว่าตะไคร้น้ำจะเริ่มจับที่ทางมะพร้าวและก็เศษใบไม้ก็เริ่มเปื่อยแล้ว
- สถานที่วางบ่อควรอยู่ใต้ร่มไม้ ไม่โดนแดดแรงๆ ตรงๆ
- ปริมาณในการปล่อยหอยขมลงในบ่อกลม หอยขมพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ประมาณ 60-100 ตัว เลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ตัวใหญ่ๆ ไว้ก็จะเป็นการดีหาได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือซื้อได้ตามชาวบ้านที่หามาขายตามตลาด
ช่องทางการจัดจำหน่าย/การตลาด
หอยขม เป็นหอยที่นิยมนำมาทำเป็นอาหารที่แสนอร่อยหลายๆเมนู หรือจะนึ่งจิ่มแจ่วเฉยๆ ก็อร่อย ถ้าตามร้านอาหารก็มักจะนิยมนำไปทำเป็นแกงคั่วหอยขม หรือแล้วแต่เมนูที่แม่ครัวพ่อครัวคิดดัดแปลงเมนูกันขึ้นมาให้อร่อย หอยขมราคาไม่แพงถ้าแบบที่ยังไม่ต้มไม่จิ้มเอาเนื้อแล้วก็อยู่ราคาประมาณกิโลละ 40 – 50 บาท แต่ถ้าต้มแล้วขายเป็นตัวหอยก็จะอยู่ที่ราคา 60 – 100 บาท ส่วนที่เป็นเนื้อหอยแบบแคะเปลือกออกจำหน่าย ราคาส่งอยู่ที่ 85 – 110 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งราคาสามารถขึ้นลงได้ตามฤดูกาล
ในเรื่องของการทำการตลาดเพื่อจำหน่ายหอยขมนั้น ในช่วงแรกต้องเน้นทำการตลาดเอง ด้วยการบุกเบิกไปจำหน่ายตามตลาดนัด ติดต่อจำหน่ายให้กับร้านอาหารต่างๆ ที่เป็นร้านขึ้นชื่อ และมีเมนูแกงคั่วหอยขมอยู่ในเมนูของร้าน จะทำให้เป็นที่รู้จักของร้านอาหารมากขึ้น เมื่อลูกค้าบอกกันไปปากต่อปาก จะทำให้มีคนเข้ามาติดต่อขอซื้อขึ้นตามไปด้วย หรืออาจไปดูตลาดที่ห้างใหญ่ๆ ก็ได้ โลตัส บิ๊กซี แม็กโคร ท็อปซุปเปอร์มาเก็ต ๆ
“หอยขมนี้เมื่อปล่อยลงไปแล้ว จะงมมาขายได้ทุกวัน โดยใช้แรงงานคนเป็นหลัก ต้องเลือกเก็บเฉพาะตัวที่ใหญ่ๆ มา จากนั้นก็จะเอามาทำตามกระบวนการผลิตที่ตลาดต้องการ เช่น ถ้าลูกค้าต้องการแบบตัดกันเฉยๆ ก็จะตัดกัน ส่วนลูกค้าที่ต้องการแบบไม่เอาเปลือกเลย ก็จะนำหอยขมมาล้างให้สะอาด จากนั้นก็มาผ่านการลวกด้วยน้ำร้อนให้สุก เสร็จแล้วก็มาแคะหอยขมออกจากเปลือก และนำเนื้อหอยที่ได้ มาแพ็กด้วยระบบสูญญากาศ ก็จะช่วยให้หอยที่แคะออกจากเปลือกเก็บรักษาได้เป็นเวลานานมากขึ้น”
ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ แล้วอยากขายหรือหาตลาดให้ได้ สิ่งที่คุณต้องทำคือ ฝึกฝน ทำซ้ำแล้วซ้ำอีกอาจใช้เวลา 1-2 เดือน หรืออาจมากกว่านั้น ลองให้คนในครอบครัวทาน ศึกษาให้ครบรอบด้านเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ เช่นการเลี้ยงหอยขม ก็ต้องศึกษาว่าธรรมชาติของการเลี้ยงหอยขม ชอบน้ำ ดิน และอากาศแบบไหน ศัตรูและแมลงมีอะไรบ้าง จะวางแผนอย่างไร เพื่อเป็นเกษตรผสมผสาน เผื่อราคาตัวหนึ่งไม่ดี ก็ยังมีตัวหนึ่งพยุงไว้อยู่ ศึกษา เรียนรู้ ลงมือทำ แก้ไขไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลงตัว การตลาดแบบออนไลน์ เช่น ผ่านทางช่องทางยูทูบ เฟชบุ๊ก และไลน์
ที่มา: www.sarakaset.com
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง