บทความเกษตร » เลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน  เลี้ยงง่ายโตไวเนื้อแน่นอร่อย

เลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน  เลี้ยงง่ายโตไวเนื้อแน่นอร่อย

2 กุมภาพันธ์ 2023
1098   0

เลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดิน เลี้ยงง่ายโตไวเนื้อแน่นอร่อย

เลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดิน

เลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดิน


ปลาหมอไทย จัดเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่ง ที่ผู้บริโภคนิยมบริโภคกันอยางแพร่หลายภายในประเทศจากกระแสความนิยมในการบริโภคปลาหมอไทย จึงทำใหนักเพาะเลี้ยงสัตวน้ำจืดเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยเพื่อการจำหน่าย เพราะปลาหมอไทย เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็วทนต่อโรคและสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย ยังมีปัจจัยสำคัญที่จะช่วยใหปลาหมอไทยมีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว นอกเหนือจากคุณภาพน้ำแล้วอาหารที่ใช้เลี้ยงยังเป็นปัจจัยสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง

เลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดิน

เนื่องจากปลาหมอไทยเป็นปลาที่กินเนื้อ ในการเลี้ยงปลาหมอไทยอายุประมาณ 1-2 เดือน ส่วนใหญ่นิยมให้อาหารสำเร็จรูป ที่มีระดับโปรตีนไม่น้อยกว่า 40% การเลี้ยงปลาหมอนั้นสามารถอาหารกบสำเร็จรูปก็ได้ เพราะอาหารกบหาซื้อได้ง่ายและมีคุณค่าทางอาหารตรงตามความต้องการ ระดับโปรตีนของปลาหมอไทย และด้วยเหตุผลที่ว่าปลาหมอไทยเพศเมีย จะมีลักษณะตัวโตกว่าเพศผู้เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของปลาหมอไทยจึงนำกวาวเครือขาวมาใช้เป็นสวนผสมในอาหารปลาหมอไทย เพราะกวาวเครือขาวมีฤทธิ์ของฮอรโมนเอสโตรเจน ที่ออกฤทธิ์คลายฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งอาจชวยกระตุนการเจริญเติบโตให้ปลาหมอไทยมีการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้น

การคัดเลือกสถานที่ เลี้ยงปลาหมอไทย

การคัดเลือกสถานที่ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาหมอไทยประสบความสำเร็จ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงและการออกแบบบ่อเลี้ยงปลาควรทำด้วยความ รอบคอบ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

ลักษณะดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไมรั่วซึม สามารถ เก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวด ลักษณะน้ำ พื้นที่เลี้ยงควรอยูใกลแหลงน้ำธรรมชาติเช่น แม่น้ำลำคลอง ที่มี น้ำตลอดปีหรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีดวย แหล่งพันธุ์ปลา เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ควรอยู่หางไกลจากแหล่งพันธุปลา

ขั้นตอนแรกสำรวจพื้นที่ที่บ้าน ว่าต้องการขุดบ่อสำหรับเลี้ยงปลาหมอตรงบริเวณไหน บ่อที่ขุดสำหรับเลี้ยงปลาหมอ อยู่ที่ขนาด 10×20 เมตร ความลึกของบ่อ ประมาณ 2 เมตร บ่อสำหรับเลี้ยงใครมีพื้นที่มากก็สามารถทำให้ใหญ่ได้ เมื่อขุดบ่อได้ขนาดตามที่ต้องการแล้ว ก็ปรับสภาพดิน ด้วยการโรยปูนขาวที่ก้นบ่อ เพื่อปรับสภาพดินและฆ่าเชื้อโรค จากนั้นตากบ่อไว้ ประมาณ 7 วัน พอครบกำหนดก็เตรียมสูบน้ำเข้าภายในบ่อ ในระยะแรกก้นบ่ออาจเกิดไรแดงให้ลูกปลาหมอได้กิน

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอ

เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง สามารถทำได้ดังนี้

สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้งการสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มี อยู่ในบ่อ หลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียกในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อจะเป็นแหล่ง หลบช่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน กบ และงูเป็นต้น และทำให้ปริมาณออกชิเจนที่ ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำจะใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้การที่มี พืชอยูในบ่อมากจะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหารและการวิดจับปลา การตากบ่อการตากบ่อจะทำให้แก้สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูก ความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าชื้อโรคและศัตรูปลาที่ฝงตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตาก บ่อ 2-3 สัปดาห์ สูบน้ำเขาบอ สูบน้ำใสบอใหไดระดับ 60-100 เชนติเมตร ทิ้งไว 2-3 วัน ก่อน ปล่อยปลาลงเลี้ยงแต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนลอนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจาก พื้นประมาณ 90 เชนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อเนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอ

ก่อนที่จะปล่อยลูกปลาลงบ่อ จะสูบน้ำลงไปในบ่อให้มีระดับน้ำ ประมาณ 120 เชนติเมตร แล้วรักษาระดับน้ำไว้เช่นนี้ จนกว่าลูกปลามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน พอเข้าสู่เดือนที่ 2 จะเพิ่มระดับน้ำขึ้นมาอยู่ที่ 140เซนติเมตร พอลูกปลาหมอเข้าเดือนที่ 3 เพิ่มระดับน้ำขึ้นเป็น 180 เซนติเมตร พอครบเดือนที่ 4 ระดับน้ำจะอยู่ที่ 2 เมตร จนกว่าปลาหมอจะได้ขนาดส่งขายได้

การคัดเลือกพันธุ์ปลาหมอไทย

การเลือกลูกพันธุ์ปลาขนาดลูกปลาหมอไทยที่มีความเหมาะสมในการปล่อยเลี้ยงบ่อ ดินมี 2 ขนาด คือ ลูกปลาขนาด 2-3 เชนติเมตร หรือเรียกว่าขนาดใบมะขาม ซึ่งมีอายุ 25- 30 วัน และขนาด 2-3 นิ้ว ซึ่งมีอายุ 60- 75 วัน สำหรับการปล่อยปลาลงลี้ยงนั้น อัตราปล่อยการปล่อยปลาหมอไทยลงเลี้ยงทำได้ 2 วิธีคือ การปล่อยปลานิ้ว ปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวตอตารางเมตร หรือ 50,000-80,000 ตัวต่อไร่ ควรปล่อยลูกปลาในช่วงเช้าหรือเย็น ระดับน้ำ ในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตรก่อนปล่อยปลาออกจากถุงควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันปลาช็อคตาย เนื่องจากการเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างกะทันหัน โดยการแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 20 นาทีแล้วเปิดถุงกวักน้ำในบ่อเลี้ยงผสมกับน้ำในถุง แล้วค่อยๆ ปล่อยลูกปลาออกจากถุงหลังจากปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อใหมีความ สูงเป็น 1-1.5 เมตร

เลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดิน

ส่วนพันธุ์ปลาที่นำมาปล่อยควรเลือกลูกปลาหมอจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ เพราะถ้าเลือกลูกปลาหมอมาไม่ดี โอกาสจะเป็นเพศผู้หมดค่อนข้างมาก โดยปลาที่เลี้ยงเป็นพันธุ์ซุมพร 1 ขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ราคาตัวละ 80 สตางค์ เป็นปลาหมอที่ผ่านการแปลงเพศแล้ว จะเอาเพศเมียเป็นหลัก เพราะเพศเมียจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าเพศผู้ มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ที่เลี้ยงต้องเป็นเพศเมีย ฟาร์มที่เลือกซื้อลูกปลาหมอมา จะเป็นฟาร์มของเอกชนที่เชื่อถือได้ เนื่องจากหน่วยงานรัฐยังไม่มีลูกปลาหมอมากพอต่อความต้องการของเกษตรกร อาจต้องรอหลายเดือนกว่าจะได้รับ ในบ่อของ ขนาด 10×20 เมตร ปล่อยลูกปลาหมออยู่ที่ 5,000 ตัว ต่อบ่อ แต่ถ้าใครจะปล่อยถึง 10,000 ตัว ต่อบ่อ ก็ทำได้ พอลูกปลาหมอลงบ่อแล้ว ก็จะใช้ยาปฏิชีวนะผสมกับอาหารให้กิน เพราะขณะที่ลูกปลาหมอขนส่งมา อาจจะช้ำใน จึงจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะให้กิน ส่วนการรักษาผิวที่เกิดจากบาดแผล ผมจะสาดเกลือเม็ดลงไปในบ่อ เพื่อรักษาบาดแผลของลูกปลา และทำให้ลูกปลาดูกระปรี้กระเปร่า

การให้อาหารปลาหมอ

ช่วงที่ปล่อยลูกปลาไปแรกๆ ยังไม่ได้ให้อาหาร เพราะในบ่อจะมีไรแดงอยู่ ลูกปลาสามารถกินได้ พอเลย 7 วัน ก็จะเริ่มให้อาหาร ระยะ 1 เดือนแรก จะให้วันละ 4 ครั้ง ดูตามการกินของลูกปลาหมอ ว่าอิ่มมากน้อยแค่ไหน จากการสังเกตเอง ให้อาหารวันละ 4 ครั้ง ให้จนอิ่ม ดูจากจำนวนอาหารที่ลอย ถ้าอาหารลอยเยอะ ก็ให้หยุดให้อาหาร นั้นแสดงว่าปลาอิ่มแล้ว มันอยู่ที่เทคนิคใครเทคนิคคนนั้น โดยถ้าปลาไม่สนใจกินอาหารแล้ว เราก็ค่อยๆ หยุด เรียกว่าให้จนอิ่ม จะให้กะปริมาณอาหารเป็นกิโล ช่วงนี้อาจจะยังคำนวณไม่ได้ ให้แบบนี้ประมาณ 1 เดือน จึงค่อยปรับลดอาหารลงมา อาหารที่ให้ช่วงนี้จะเป็นอาหารเม็ดเล็ก เป็นอาหารลูกอ๊อด การให้อาหารระยะ 1 เดือนแรก เมื่อลูกปลาหมอได้ 1 เดือนขึ้นไป ก็จะเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารปลาดุก เบอร์ 1 มีจำนวนโปรตีนประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ให้ 3 ครั้ง ต่อวัน และเมื่อครบ 2 เดือนขึ้นไป จะให้ 2 ครั้ง ต่อวัน พอปลาหมอปาก

อาหารปลาหมอ

เริ่มใหญ่ขึ้น จะเปลี่ยนอาหารเป็นเบอร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ดูตามขนาดของปากปลาหมอเป็นหลัก ถ้าปากใหญ่มากกว่าเดิมก็จะเปลี่ยนขนาดของอาหาร ดูที่ปากปลาเป็นหลัก ว่าพอระยะ 2 เดือนไปแล้ว จะกินอาหารเบอร์ 2 ได้ไหม ถ้ากินได้ก็จะเปลี่ยนเป็น เบอร์ 2 แต่ค่อยๆ เปลี่ยน ไม่ได้เปลี่ยนทีเดียวนะ จากนั้นก็เลี้ยงด้วยอาหาร เบอร์ 2 ตลอดไปเลย ให้ 2 ครั้ง เหมือนเดิม เช้า เย็น จนถึงช่วงขายปลาเลย ปลาที่เขานิยม จะประมาณ 5 เดือน

การดูแลรักษาและการขยายพันธุ์

ดูตามสภาพแวดล้อม ช่วงที่ฝนตกบ่อยๆ จะโรยปูนขาวข้างๆ บ่อ เพราะเวลาที่น้ำฝนตกลงมา อาจจะนำเชื้อโรคตามมาด้วย หรือน้ำฝนเองมีสภาพเป็นกรด ก็จะโรยปูนขาวเพื่อที่เวลาน้ำฝนตกลงมาจะได้ช่วยปรับสภาพน้ำไปด้วย ทำให้น้ำในบ่อมีสภาพที่ดีขึ้น ไม่เป็นกรดด่างมากเกินไป

เมื่อปลามีอายุได้ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ก็จะมีการถ่ายน้ำออกจากบ่อ โดยดูว่าน้ำในบ่อมีสภาพอย่างไรเขียวมากเกินไหม เพราะถ้าสภาพน้ำไม่ดีปลาหมอจะเครียด กินอาหารได้น้อย จะถ่ายน้ำออก เอาน้ำใหม่เข้าไปจากนั้นสาดเกลือลงไปในบ่อหลังถ่ายน้ำ

การถ่ายน้ำออก แล้วใส่น้ำใหม่เข้าไป เพื่อให้น้ำมีสภาพดีขึ้น ถ่ายออก 3 ใน 5 ของบ่อ หากไม่ถ่ายน้ำออกบ้าง น้ำในบ่อสภาพไม่ดี ปลาก็จะไม่ค่อยกินอาหาร ทำให้การเจริญเติบโตของปลาหมอช้าลง เพราะเกิดสภาวะเครียดจากสภาพแวดล้อม นอกจากถ่ายน้ำแล้ว ผมก็จะสาดเกลือเม็ดลงในบ่อ เดือนละ 2 ครั้ง อัตรา

การสาดเกลือเม็ด อยู่ที่ 20 กิโลกรัม ต่อบ่อ สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่าง ที่ปลาจะไม่ค่อยกินอาหาร ก็เรื่องฟ้าผ่า ฟ้าร้อง เสียงดังต่างๆ การรบกวนจากคน ถ้าเราไปยุ่งกับบ่อมาก ปลาตกใจ ทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร 2-3 วัน มันเกิดความครียด ต้องระวัง”

ด้านศัตรูที่มากินปลาหมอ จะเป็นพวก นกกระยาง งู กบ เพราะลูกปลาหมอตัวเล็กๆ ระยะ 2-3เช็นติเมตร กบสามารถกินได้ ทำให้จำนวนปลาหมอลดน้อยลง ส่วนนกกระยาง จะต้องขึงตาข่ายกันที่ปากย่อเพื่อกันนกกระยางลงมากินปลาหมอ

ด้านการตลาด

ในการค้าขายที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีการวิ่งหาตลาดที่เป็นตลาดขายส่งและขายประจำในการเข้าไปหาตลาดจะต้องสร้างความน่าสนใจในสินค้าของเราที่จะทำให้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดได้ตัดสินใจซื้อขายสิ้นค้าของเราเพราะตลาดขายส่งหรือตลาดประจำเป็นตลาดที่จะขายสินค้าได้ในระยะยาว

ในด้านการตลาด ปลาหมอที่ขายส่วนใหญ่ อายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไป โดยไซซ์ที่นิยม จะประมาณ 4-5 ตัว ชั่งน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ถือเป็นไซซ์ป่านกลาง ขายอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 60 บาท ถ้า 7-9 ตัว ชั่งน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ขายอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนไซซ์ใหญ่สุด 2-3 ตัว ได้ 1 กิโลกรัม อยู่ที่ประมาณราคา 80 บาท แต่ไซซ์ขนาดนี้มีจำนวนไม่มาก ไซซ์ป่านกลางส่วนใหญ่ที่ขายออกได้ดี

การขายปลาเมื่อปลาได้อายุครบกำหนด ประมาณ 4 เดือนขึ้นไป ก็จะทำการติดต่อตลาดว่าจะมารับปลาของเราในวันและเวลาที่เท่าไร เมื่อถึงกำหนดเวลา จะเป็นการขายแบบยกบ่อ จะวิดน้ำออกเอง และใช้อวนปลา จับปลาเพื่อขายให้พ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้อปลาไป บางกรณี ปลาพร้อมที่จะขายแล้ว ก็ไปบอกพ่อค้าแม่ค้าให้เตรียมมาจับ เขาก็จะเตรียมทีมงานมาเอง เราก็อาจจะต้องจ่ายค่าจับให้ไป มากน้อยอยู่ที่ตกลง เมื่อถามถึงผลตอบแทนที่ได้รับ ว่าผลกำไรเป็นที่น่พอใจไหม เพราะระยะเวลาที่รอจนกว่าจะขายปลาหมอได้ ใช้เวลาประมาณ 4 เดือนขึ้นไป “ส่วนค่าตอบแทน เราขายได้ทั้งบ่อ ถ้าปลาได้ 900 กิโล ได้ราคาประมาณกิโลละ 65-70 บาท ก็ประมาณ 63,000 บาท หักค่าอาหาร ค่าลูกปลา ประมาณ 35,000 ก็เหลือประมาณ 28,000 ต่อบ่อ ถ้ามี 3 บ่อ ก็จับสลับกันไป เงินก็หมุนเวียนตลอด เราก็ได้เงินแบบไม่ขาดช่วง

ท่านใดที่สนใจจะเลี้ยงปลาหมอเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม ต้องศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบด้วยนะครับ เพราะทุกอย่างที่ทำมีต้นทุนแทบทั้งสิ้น เพราะปลาเป็นสิ่งมีชีวิต บางครั้งการตายเป็นเรื่องธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้น เราต้องทำใจให้เป็นกลาง เรียนรู้ให้มากๆ โดยอาจจะเริ่มเลี้ยงจากบ่อเล็ก เมื่อสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ก็ค่อยๆ ขยายต่อไป ส่วนเรื่องตลาดก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน อาจต้องศึกษาหาข้อมูล หรือแหล่งขายให้ดี

ที่มา:

  • ประมง/ปลาสวยงาม ปลาหมอ และการเลี้ยงปลาหมอ เข้าถึงได้จาก https://pasusat.com
  • แหล่งที่มาของข้อมูล : “ปลาหมอ ชุมพร1 สัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่กำลังแรง “: [ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก :www.komchadluek.net
  • ปลาหมอ “ชุมพร 1 ” ทางเลือกสู้อากาศวิปริต www.thairath.co.th
  • www.sarakaset.com / เลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดิน

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง