บทความเกษตร » การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ดูแลง่ายโตไว

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ดูแลง่ายโตไว

15 กุมภาพันธ์ 2023
3893   0

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ดูแลง่ายโตไว

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก


การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก คือ การเลี้ยงปลาดุกในพื้นที่จำกัด สามารถเลี้ยงได้ทุกที่ เพราะใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย ก่อสร้างบ่อเลี้ยงได้ง่ายระยะเวลาการเลี้ยงสั้น ปลาดุกถือว่าเป็นสัตว์น้ำที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็วอดทนต่อสภาพน้ำได้ดี มีภูมิต้านทานต่อโรคค่อนข้างสูง

ปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกนา อังกฤษ : Broadhead catfish, Gunther’s walkingcatfish เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Claidae มีกระดูกท้ายทอยยื่นแหลมออกไปลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นป้อมกว่าปลาดุกด้าน ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ลำตัวมีสีดำปนเหลือง มีจุดขาวเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวขวางลำตัวหลายแถว มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบช่วย พบได้ในพื้นที่แถบ ประเทศไทยไปจนถึงเวียดนาม และมีการนำไปเลี้ยงในประเทศจีน, มาเลเซีย, เกาะกวม และฟิลิปปินส์

ปลาดุก เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด น้ำที่ค่อนข้างกร่อย หรือแม้แต่ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย เพราะว่าปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาช่อน จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมรับประทาน ปลาดุกที่พบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิดด้วยกัน แต่ที่เป็นที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกล ๆประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุยเพราะให้รสชาติดี เนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี เกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนน้ำ หรือในเขตพื้นที่สูง ฐานะยากจนมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหารโปรตีน ดังนั้นการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวที่ยากจนไมให้ขาดแคลนอาหารโปรตีน

ปัจจุบันปลาดุกเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกรเนื่องจากเลี้ยงง่ย เจริญเติบโตเร็ว อีกทั้งยังทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อม เป็นที่นิยมบริโภคของประชาชนเนื่องจากรสชาติดี และราคาไม่แพง สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินบ่อซีเมนต์ และบ่อพลาสติก ถ้ามีพื้นที่จำกัด การเลี้ยงในบ่อพลาสติกก็เป็นทางออกที่ดี และประหยัด โดยที่ในบ่อพลาสติกจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 – 5 ปี

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

วิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

  • การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
    • ควรตั้งอยู่ใกล้บ้าน อยู่ในที่ร่มหรือมีหลังคา มีแหล่งน้ำสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวก ถ้าอยู่ใกล้แหล่งอาหารสด เช่น โครงไก่หรือไส้ไก่บด จะยิ่งดี เพราะสามารถนำมาเป็นอาหารสมทบเพื่อลดต้นทุนค่าอาหารปลาได้
  • การเตรียมน้ำ
    • น้ำบาดาล น้ำบ่อ หรือน้ำจากลำคลองสามารถใช้เลี้ยงปลาได้
    • น้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้ 3วันก่อนถึงจะนำมาเลี้ยงปลาได้
  • ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยงปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไป ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
  • การเตรียมบ่อเลี้ยง : ขุดดินให้ลึก 0.5 เมตร ความลาดชัน 1:2 และใช้พลาสติกขนาด 305 x 6 เมตร ปูพื้นบ่อ โดยต้องระวังไม่ให้ขาดหรือมีรอยรั่วหลังจากปูพลาสติก จะเหลือพื้นที่บ่อเลี้ยงขนาด 1.5 x 4เมตร ลึก 0.5 เมตร
  • อัตราการเลี้ยง ปล่อยลูกปลาในอัตรา 50-80 ตัว/ตารางเมตร (ขนาดบ่อ 1.5x 4 เมตร ปล่อยได้ 300-500 ตัว) น้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกสัปดาห์ จนมีระดับสูงสุด 30-50 เซนติเมตร
  • การปล่อยปลา ควรแช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อย ๆ ปล่อยลงบ่อ ช่วงแรกที่ปล่อยให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกสัปดาห์ จนมีระดับ สูงสุด 30-50 เซนติเมตร
  • การให้อาหาร เริ่มแรกให้อาหารเม็ดเล็กและทุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก อาหารสดพวกเศษเนื้อสับสามารถให้ปลากินได้ ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน ให้อาหารเป็นเวลา วันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ให้ในปริมาณ 3-5% ของน้ำหนักตัวปลาต่อวัน หรือให้แต่พออิ่ม อย่าให้จนอาหารเหลือ จะส่งผลต่อคุณภาพน้ำและต้นทุนการผลิตได้ เมื่อปลาโตมีความยาว 15 ชม. ขึ้นไปจะใช้อาหารเม็ด รำละเอียด เศษผักหรือเศษอาหารอัตราส่วน 2 : 4 : 4 เป็นการลดต้นทุนค่าอาหาร
  • การถ่ายเทน้ำควรทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือบ่อยกว่าขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ โดยเปลี่ยนน้ำครั้งละ 20-30% ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
  • การจับปลา เมื่อเลี้ยงได้ 2-3 เดือน ปลาจะมีขนาดประมาณ 200-300 กรัม/ตัว จับมาบริโภคหรือจำหน่ายได้ รายได้จะต้องบันทึกในสมุดบัญชีครัวเรือน และต้องเก็บรายได้ส่วนหนึ่งไว้ซื้อพันธุ์ปลาหรือวัสดุอุปกรณ์เพื่อเลี้ยงในรุ่นต่อไปอย่างต่อเนื่อง

การเลี้ยงปลา

ผลตอบแทน

  • การจับปลา เมื่อเลี้ยงได้ 2-3 เดือน ปลาจะมีขนาดประมาณ 200-300 กรัม/ตัว โดยมีอัตราการรอด 80-90% ซึ่งจะทำให้มีปลาประมาณ 80-90 กิโลกรัม/บ่อ ราคาจำหน่าย กก.ละ 80 บาท จะมีรายได้ 6,400 บาท/รุ่น
  • จะได้ปลาดุกเป็นอาหารบริโภคในครัวเรือน เพิ่มปริมาณโปรตีนให้กับสมาชิกในครัวเรือน และเพื่อนบ้านเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน น้ำที่ได้จากการเปลี่ยนถ่ายน้ำใช้ในการรดต้นไม้หรือผักสวนครัวบริเวณรอบ ๆ บ่อ

 

ที่มา : Youtrube ชาวสวน ยุคใหม่


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ