วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า แบบง่ายๆ ไว้รับประทานในครัวเรือน
วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ง่ายๆ แต่ด้วยจะรอธรรมชาติอย่างเดียวคงไม่พอกับความต้องการที่จะบริโภคของมนุษย์ มนุษย์ก็เลยคิดค้นการเพาะเห็ดฟางขึ้นมาซึ่งก็มีหลายวิธี แต่วิธีที่พอจะเป็นแนวทางให้ปฏิบัติหรือทำได้ง่ายๆนั้น ยกตัวอย่างเช่น สมัยก่อนเราเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ก็คือเอาวัสดุเช่นฟางมากองไว้แล้วเอาเชื้อโรยเห็ดก็ขึ้น แล้วก็เก็บยาวเป็นเดือน
การเพาะเห็ดฟางในตะกร้านี้เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ประยุกต์ขึ้นมา แต่เดิมนั้นการเพาะเห็ดฟางแบบทั่วไปใช้พื้นที่ในแนวราบ มาตรฐานของการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ราบ 3 ตารางเมตร ถ้าผลผลิตได้ถึง 3 กิโลถือว่ายอดเยี่ยม การเพาะเห็ดฟางแบบในตะกร้าจะใช้พื้นที่ในแนวสูงกับแนวราบของพื้นที่ตะกร้าที่เป็นทรงกระบอก โดยสามารถใช้ตะกร้าซักผ้า ตะกร้าใส่ผลไม้ตะกร้าใส่ปลาของชาวประมง คือไม่สูงมากประมาณ 1 ฟุต รอบ ๆ ตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบนเห็ดก็สามารถออกได้ และสามารถนำตะกร้าช้อนกันได้หลายชั้น เป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่การออกดอกของดอกเห็ด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีทำเหมาะกับทุกรูปแบบ
อุปกรณ์ เพาะเห็ดฟางในตะกร้า
- ตะกร้าพลาสติก ขนาด 11 นิ้ว มีตาห่าง ประมาณ 1 นิ้ว
- วัสดุเพาะ ได้แก่ ฟางข้าว เปลือกถั่วเหลือง ชานอ้อย กากเปลือกมันสำปะหลัง
- อาหารเสริม เช่น ผักตบชวา ไส้นุ่น ต้นกลัวย นอกจากนี้อาจใช้แป้งสาลี ก็ได้
- เชื้อเห็ดฟางที่ดี ถ้าเป็นแบบหัวเชื้อถุง 1 ใช้เพาะได้ 2 ตะกร้า
- เกรียงไม้ ( สำหรับอัดวัสดุเพาะเห็ด )
- สุ่มไก่หรือกระโจมไม้ไผ่
วิธีและขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟาง
- นำฟางที่เรียมไว้แล้วใส่ลงในตะกร้า สูงจากกันตะกร้าประมาณ 2-3 นิ้ว ใช้เกรียงไม้กดฟางให้พอแน่น และใช้ชิดของตะกร้ามากที่สุด หรืออาจใช้วัสดุอื่นแทนฟางก็ได้
- โรยอาหารเสริมที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ลิตร ต่อ 1 ชั้น โรยอาหารเสริมลงบนวัสดุเพาะให้ชิดขอบตะกร้า โดยกว้าง 2-3 นิ้ว โรยหนาเพียงชั้นเดียว โรยข้างตะกร้าโดยรอบ อย่าโรยจนหนาเกินไป เพราะจะเกิดการเน่าเสียได้
- นำเชื้อเห็ดฟาง มาแยกเป็นชิ้นขนาด 1-2 เซนติเมตร นำไปคลุกกับแป้งสาลี พอติดผิวนอกของเชื้อเห็ด ซึ่งแป้งสาลีเป็นอาหารเบื้องต้นที่ช่วยให้เชื้อเห็ดเจริญได้ดี แบ่งเชื้อเห็ดออกเป็น ส่วนเท่าๆกัน นำส่วนที่ 1 โรยบนอาหารเสริมโดยรอบโรยเป็นจุดๆ ห่างกัน 5-10 เซนติเมตร เป็นอันว่าการนี้ได้ วัสดุเพาะชั้นที่ 1 ทำวัสดุเพาะชั้นที่2 โดยกระทำเช่นเดียวกับ ข้อ 1-3
- ทำวัสดุเพาะชั้นที่ 3 ปฏิบัติตามข้อที่ , ส่วน ข้อที่ 2 การโรยอาหารเสริมนั้น ต้องโรยให้เต็มผิวหน้าด้านบน แล้วปฏิบัติตามข้อที่ 3 หลังจากนั้นให้นำางหรือวัสดุเพาะอื่นๆมาโรยทับด้านบนจนทั่วโรคจนหนาประมาณ 1 นิ้ว
- นำน้ำสะอาดประมาณ 2 ลิตร มารดลงด้านบนวัสดุให้ชุ่ม นำตะกร้า นี้ไปวางไว้ในที่ที่เตรียมไว้ โดยอาจวางซ้อนกันได้ ไม่เกิน 4 ชั้น โดยทั่วไปวางตะกร้าเพาะเรียงซ้อนกันไม่เกิน 4 ใบ ชั้นล่างจะให้ผลผลิตสูงกว่าด้านบน ชั้นยิ่งสูงผลผลิตยิ่งน้อยลง ถ้าวางซ้อนเกิน 4 ชั้น ชั้นต่อไปจะให้ผลผลิตไม่คุ้มทุน
- ถ้าวางเรียงตะกร้าเพาะเห็ดแบบ 4 ใบ ชิดกันแล้ววางตะกร้า เพาะอีกใบอยู่บนกึ่งกลางต้องใช้กระโจมหรือโครงไม้ไผ่ทรงสุ่มไก่ครอบคลุม ตะกร้าเพาะให้โครงไม้ไผ่ด้านในอยู่ห่างจากตะกร้าเพาะประมาณ 1 คืบ
- นำพลาสติกมาคลุมโครงไม้ไผ่จากด้านบน คลุมให้มิด ส่วนด้านล่างควรหาอิฐหรือใช้ไม้ทับขอบพลาสติกเพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออกการ คลุมด้วยพลาสติกใสดอกเห็ดที่ออกมาจะมีสีดำ ถ้าใช้สีเข้มดอกเห็ดจะมีสีขาว ถ้าเป็นชั้นโครงเหล็กที่วางตะกร้าเพาะก็นำพลาสติกมาคลุมได้เลย
- การเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณวันที่ 8-9 ในฤดูร้อน หรือ 12-15 วันในฤดูหนาว
เห็ดฟางมีประโยชน์ อะไรบ้าง ?
เป็นเห็ดที่มี ไขมันต่ำแคลลอรี่น้อย และไม่มีคลอเรสเตอรอล มีคาร์โบไฮเดรตแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 บี2 วิตามินซี นอกจากนี้ยังมี ซีลิเนียม โพแทสเซียม ช่วยต้านมะเร็งลดความดันโลหิต เห็ดฟางยังมีโปรตีนสูงและกรดอะมิโนต่างๆ การทานเห็ดฟางจึงดีต่อสุขภาพ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน…เห็ดฟางมีประโยชน์ขนาดนี้แล้วจึงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ถ้าหากปลูกขายแล้วเชื่อแน่ว่า น่าจะเป็นอีกธุรกิจเกษตรทำเงินแน่นอน
โอกาสของการเพาะเห็ดฟางขายยังมีมาก
จากเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งเห็ดก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เห็ดฟางก็เป็นอีกเห็ดชนิดที่มีความต้องการสูง ยิ่งถ้าสามารถทำให้ได้มาตรฐานแบบปลอดสาร เริ่มตั้งแต่กระบวนการหาวัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ การเก็บเกี่ยว จนถึงการหีบห่อขนย้าย ยิ่งจะเป็นการสร้างมูลค่าให้สูงขึ้นและสามารถขายได้ในกลุ่มตลาดบนด้วย
ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี , www.kasetbanna.com
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง