การใช้ปุ๋ยผสมผสาน เพื่อลดตันทุนการผลิตและการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
การใช้ปุ๋ยผสมผสาน
ก่อนจะกล่าวถึงเรื่อง “ปุ๋ย” จำเป็นต้องรู้จัก “ดิน” ก่อนว่ามีองค์ประกอบอะไรอยู่ในดินบ้างองค์ประกอบของดิน และสัดส่วนที่ควรมีสำหรับดินที่มีคุณภาพดี
- แร่ธาตุ หรืออนินทรียวัตถุ (45%) เป็นส่วนที่ได้จากการสลายตัวผุพังของหินและแร่ อันเป็นแหล่งกำเนิดของราตุอาหารให้แก่พืชได้ใช้เพื่อการเจริญเติบโต
- อินทรียวัตถุ (5%) คือ ซากพืช ซากสัตว์ ที่ถูกย่อยสลายโดยการกระทำของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก จนตาเปล่ามองไม่เห็น จนได้สารอินทรียวัตถุที่อยู่ในรูปที่คงทนต่อการสลายตัวมีประโยชน์ ทำให้ดินมีโครงสร้างที่ดี ได้แก่ ความโปร่งร่วนซุย ดูดซับน้ำ และระบายน้ำ และอากาศได้ดี ทำให้รากพืชชอนไชไปหาธาตุอาหารในดินได้ง่ายขึ้น\
- น้ำ (25%) อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ช่วยละลายแร่ราตุอาหารในดิน ให้พืชดูดไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต
- อากาศ (25%) อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ช่วยให้ออกซิเจนแก่รากพืชใช้ในการหายใจ
การใช้พื้นที่ทำการเกษตรในการปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้สัดส่วนขององค์ประกอบดินเปลี่ยนแปลงไป ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินจะติดไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกไปจากแปลง การไถพรวนดินครั้งแล้วครั้งเล่าการเผาเพื่อเตรียมที่ดินปลูกพืชฤดูกาลต่อไปทำให้อินทรียวัตถุลดลง ส่งผลให้โครงสร้างของดินเสียไป ดินแน่นทึบ การระบายน้ำถ่ายเทอากาศไม่ดี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินเพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินในรูปของ “ปุ๋ย”
ความหมายและประเภทของ “ปุ๋ย” ปุ๋ย หมายถึง สิ่งที่ใส่ลงไปในดิน หรือฉีดพ่นให้แก่ต้นพืชเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ
ทำความรู้จักกับ ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยเคมี คือ สารประกอบอนินทรีย์ที่ได้จากหินและแร่ธาตุในธรรมชาติ ส่วนใหญ่นำมาผ่านกระบวนการผลิตทางเคมีวัตถุประสงค์ของการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืชโดยต้องใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นเหมาะสมหรือใส่แล้วต้องรดน้ำเพื่อที่จะละลายให้ธาตุอาหารแก่พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เพื่อการเจริญเติบโตแตกกิ่งก้าน สร้างใบ ดอก เมล็ด และผลปุ๋ยเคมี แบ่งเป็น
- แม่ปุ๋ย หมายถึง ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูงทั้งในรูปปุ๋ยเชิงเดี่ยว (มีธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ธาตุใดราตุหนึ่งเพียงธาตุเดียว) หรือปุ๋ยเชิงประกอบที่มีราตุอาหารหลักตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป ไม่มีสารตัวเติมในแม่ปุ๋ย โดยใช้แม่ปุ๋ยผสมเป็นปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ซึ่งแม่ปุ๋ยที่นิยมใช้มี 3 สูตร ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนปุ๋ยสูตร 0-0-60 ให้ธาตุอาหารโพแทสเซียม และปุ๋ยสูตร 18-46-0ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัส และไนโตรเจน
- ปุ๋ยผสม หมายถึงปุ๋ยที่มีาตุอาหารหลักตั้งแต่ 2 ธาตุ ขึ้นไปอาจเป็นสารประกอบชนิดเดียว ที่มีธาตุอาหารหลักอยู่รวมกันหรืออาจเป็นปุ๋ยที่นำแม่ปุ๋ย 2 ชนิดขึ้นไปมาผสม แล้วอาจปั้นเม็ดเป็นเนื้อเดียวกัน หรือผสมแบบคลุกเคล้า และมีการใส่สารตัวเติมลงในปุ๋ย เพื่อให้มีน้ำหนักปุ๋ยครบ 100 กิโลกรัม ( เท่ากับปุ๋ย 2 กระสอบ) ตามที่พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 กำหนดซึ่งสารตัวเติมไม่มีจุดประสงค์ในการให้ธาตุอาหารหลัก เช่นปุ๋ยสูตร 16-20-0 มีปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจน เท่ากับ 36 กิโลกรัมเป็นสารตัวเติมที่ไม่ใช่ราตุอาหารหลัก เท่ากับ 64 กิโลกรัม เป็นต้น
ทำความรู้จักกับ ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัดหรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด วัตถุประสงค์ของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย
ทำความรู้จักกับ ปุ๋ยชีวภาพ
ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุสินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารพืชหรือช่วยให้ธาตุอาหารในดินเป็นประโยชน์กับพืชได้มากขึ้น และหมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ด้วยวัตถุประสงค์การใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดิน เพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืช และส่งเสริมความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินให้กับพืช ปุ๋ยชีวภาพ จะต้องมีชนิดจุลินทรีย์ และปริมาณที่ระบุไว้ จำนวนแน่นอน ตัวอย่างปุ๋ยชีวภาพ เช่น
- ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ช่วยเพิ่มปริมาณ จำนวนรากอย่างน้อย 20 % ทำให้ดูดราตุอาหารและน้ำจากดินมาใช้ได้มากขึ้น และสามารถตรึงในโตรเจนจากอากาศและสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างน้อย 25% และทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีผลิตใช้เฉพาะในข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย และมันสำปะหลัง
- เชื้อไรซเบียม ช่วยในการตรึงในโตรเจนจากอากาศมาให้พืชใช้ประโยชน์ ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี มีผลิตใช้เฉพาะในพืชตระกูลถั่ว
แนวทางการใช้ปุ๋ยผสมผสาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต
- เก็บตัวอย่างดินส่งตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการหรือตรวจสอบด้วยตนเองโดยใช้ชุดตรวจสอบดินแบบรวดเร็วเพื่อทราบความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก ( เอ็น พี เค : N P K ) และความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ( พีเอช : pH )
- ปรับปรุงดินโดยใช้ปัยอินทรีย์ในช่วงเตรียมดินเตรียมหลุมปลูกในไม้ผล ช่วงที่พืชเจริญแล้ว และหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
- ใช้วัสดุปรับปรุงดิน เช่น ปูนชนิดต่าง ๆ กรณีดินมีความเป็นกรด (พีเอช) ต่ำกว่า 5.5 แต่ถ้าพืชชอบดินที่เป็นกรด เช่น กาแฟ แตงโม สับปะรด มันฝรั่ง ทนความเป็นกรดได้ถึงระดับพีเอช 5 และยางพารา ชา ทนความเป็นกรดได้ถึงระดับพีเอช 4 อาจไม่ต้องใช้วัสดุปรับปรุงดิน
- ผสมแม่ปุ๋ยเคมีใช้เอง ( สูตร 46-0-0, 18-4-0, 0-0-60 )ตามคำแนะนำจากผลวิเคราะห์ดิน หรือใช้ปุ๋ยผสมสูตรที่ใกล้เคียงกับคำแนะนำ
- ใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมด้วย ในพืชที่ใช้ได้ ซึ่งปุ๋ยชีวภาพมีราคาถูก 1 ถุง คลุกเมล็ดข้าวได้ 10 – 15 กิโลกรัมข้าวโพด 3 – 4 กิโลกรัม หรือ 2 ถุง ฉีดพ่นท่อนพันธุ์อ้อยและแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังได้ 1 ไร่ ทำให้ลดการใช้ปุยเคมีลงได้ อย่างน้อย 25% หรือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีหว่านหลังปลูก
* สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากสำนักงานเกษตรอำเภอหรือศูนย์จัดการดินปุ้ยชุมชนใกล้บ้าน*
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง