การเลี้ยงแพะมือใหม่ ต้องเริ่มต้นยังไงดี
การเลี้ยงแพะมือใหม่
การเลี้ยงสัตว์กำลังได้รับการสนใจเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากการปลูกพืชแล้ว การเลี้ยงสัตว์ยังเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งเป็นรายได้หลักและรายได้เสริม เเพะเป็นสัตว์ที่น่าเลี้ยง ทั้งนี้เพราะแพะนอกจากจะเลี้ยงง่ายขยายพันธุ์ได้เร็วแล้ว ยังมีข้อดีต่าง ๆ อีกมาก เช่น
- แพะเป็นสัตว์ที่ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนม มีขนาดเล็ก ทำให้ผู้หญิงหรือเด็กก็สามารถให้การดูแลได้
- แพะเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินเองได้เก่ง กินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้นถึงเม้ฤดูแล้ง เพะก็สามารถหาวัชพืช ที่โค-กระบือไม่กินกินเป็นอาหารได้
- แพะมีการเจริญดิบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวได้เร็ว สามารถใช้แพะผสมพันธุ์ได้ตั้งแค่อายุเพียง 8 เดือน
- แพะมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง แม่แพะมักคลอดลูกแฝด และใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงถูกสั้น จึงทำให้สามารถตั้งท้องได้ใหม่
- แพะเป็นสัตว์ที่ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเพียงเล็กน้อย ทั้งพื้นที่โรงเรือนและพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับแพะ
สายพันธุ์แพะ
การที่จะให้การเลี้ยงแพะประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งก็คือพันธุ์เพะที่จะใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ เพราะพ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีหากเลี้ยงอย่างถูกวิธี จะให้ผลผลิตที่ดีด้วย
การเริ่มต้นในการเลี้ยงแพะ ควรเริ่มจากการเลี้ยงแพะพื้นเมืองหรือเพะลูกผสมระหว่างเพะพันธุ์พื้นเมือง กับแพะพันธุ์ต่างประเทศที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แล้ว เพราะนอกจากจะเลี้ยงดูง่ายแล้วยังลงทุนต่ำอีกด้วย เมื่อมีความรู้และประสบการณ์แล้วก็เริ่มเลี้ยงแพะพันธุ์แท้ ซึ่งอาจจะใช้แต่พ่อพันธุ์เเพะที่ดีนำมาผสมพันธุ์กับแม่แพะหรือปรับปรุงพันธุ์แพะในฝูงให้ดีขึ้น พันธุ์แพะเนื้อที่นิยมเลี้ยงกันในเขตประเทศไทยมีอยู่หลากหลายพันธุ์ เซ่น พันธุ์บอร์ พันธุ์แองโกร่า พันธ์แคซเมียร์ พันธุ์แบล็ตเบงกอล เป็นต้น
พันธุ์บอร์ (Boer)
พันธุ์บอร์ (Boer) ปัจจุบันประเทศไทยนิยมเลี้ยงแพะพันธุ์นี้เพื่อผลิตเป็นแพะเนื้อมากขึ้น เพราะเป็นแพะเนื้อที่มีขนาดรูปร่างใหญ่ ล่ำสัน มีลำตัวใหญ่ยาวและกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก และมีลักษณะของกระดูกโครงร่างใหญ่แข็งแรง ลักษณะสีลำตัวเป็นสีขาวมีสีน้ำตาลแดงที่หัวและคอ หัวโหนกนูน ดั้งจมูกโด่งและงุ้มลง เขาเอนไปด้านหลังและงอโค้งลงด้านล่าง ใบหูยาวและห้อยลง มีเครา แต่ไม่มีติ่ง (Wattle) ที่ใต้คอ น้ำหนักตัวเฉลี่ยของตัวผู้อยู่ที่ประมาณ 70-90 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 50-65 กิโลกรัม แม่แพะมีอัตราการให้ลูก แฝดสูงโดยมีจำนวนลูก 2-3 ตัวต่อดรอก
แพะพันธุ์นี้มีข้อดีในการเลี้ยงเป็นแพะเนื้อเพราะมีขนาดใหญ่ ให้เนื้อมาก หนังจะมีคุณภาพดี อัตราการเจริญเติบโตดีหากมีการดูแลให้อาหารขันเสริม แต่มีข้อด้อยในเรื่องของการที่แม่แพะให้นมน้อยไม่เพียงพอในการเลี้ยงลูกแฝด
พันธุ์แองโกร่า (Angora)
แพะพันธุ์แองโกร่า (Angora) เป็นแพะที่มีลักษณะรูปร่างขนาดเล็ก มีความสูงจากหัวไหล่ประมาณ 50-60 เซนติเมตร มีขนค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ เส้นขนเป็นปุยละเอียดอ่อนนุ่ม ในต่างประเทศจึงนิยมเลี้ยงเพื่อเป็นแพะขน หัวมีลักษณะแบน ดั้งจมูกลาดตรงมีเขาเอนไปด้านหลัง หูตก มีเดรา แต่ไม่มีติ่ง (Wattle) ใต้ดอ น้ำหนักตัวในเพศผู้เฉลี่ยอยู่ที่ 35-55 กิโลกรัม น้ำหนักตัวในเพศเมียเฉลี่ยอยู่ 30-40 กิโลกรัม จำนวนลูก 1 ตัวต่อดรอก
แพะพันธุ์นี้มีข้อด้อยในแง่ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวน้อย หากปล่อยให้แทะเล็มอยู่ในแปลงหญ้าจะหากินไม่เก่ง แต่ชอบหากินตามพุ่มไม้ป่าละเมาะมากกว่า และจากการที่เป็นแพะที่มีขนยาว หากเลี้ยงในเขตที่มีอากาศร้อนมากแพะจะเครียดจากความร้อน ขนพันกันทำให้สกปรกง่ายจึงต้องตัดขนปีละ 2 ครั้ง
แพะพันธุ์ซาเเนน
เป็นแพะนมที่มีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตนมสูงกว่าแพะพันธุ์อื่นๆ แพะพันธุ์นี้มีขนสั้น ดั้งจมูกและใบหน้ามีลักษณะตรง ใบหูเล็กและตั้งชี้ไปข้างหน้า ปกติจะไม่มีเขาทั้งในเพศผู้และเพศเมีย แต่เนื่องจากมีแพะกระเทยในแพะพันธุ์นี้มาก จึงควรคัดเฉพาะแพะที่มีเขาไว้เป็นพ่อพันธุ์ เพราะมีรายงานว่าลักษณะกระเทยมีความสัมพันธ์ทางพันธุ์กรรมอยู่กับลักษณะของการไม่มีเขา แพะพันธุ์นี้มีสีขาว สีครีม หรือสีน้ำตาลอ่อนๆน้ำหนักโตเต็มที่ประมาณ 60 กิโลกรัม สูงประมาณ 70-90 เซนติเมตร ให้น้ำนมประมาณวันละ 2 ลิตร ระยะเวลาการให้นมนานถึง 200 วัน มีหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เลี้ยงแพะพันธุ์นี้อยู่มาก เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทย แต่ก็มีปัญหาเพราะว่าแพะพันธุ์นี้ปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศในแถบนี้ไม่ค่อยดีนัก แต่ถ้าหากเลี้ยงแพะพันธุ์นี้ไว้ในลักษณะขังคอกตลอดเวลา ก็จะทำให้ปัญหาเรื่องเจ็บป่วยลดลงให้ผลผลิตดี
แพะพื้นเมือง (Native goats)
แพะพื้นเมือง (Native goats) เป็นแพะที่มีขนาดเล็ก มีการเลี้ยงและขยายพันธุ์กันอย่างแพร่หลายในแถบชนบทในเขตภาคใต้ของประเทศไทย โดยมากแพะพื้นเมืองที่มีอยู่มีการสันนิษฐานว่าการนำแพะเข้ามาเลี้ยงนั้นได้มาจากลายพันธุ์แพะในประเทศอินเดีย และประเทศมาเลเซีย ด้วยเหตุผลของการเผยแผ่ศาสนาและวัฒนธรรมการเลี้ยงแพะของประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม การเลี้ยงแพะในเขตภาคใต้ของประเทศไทยนั้น มักจะเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินไปตามพื้นที่รกร้าง เรือกสวนไร่นา ทุ่งหญ้าสาธารณะ เขตสวนยาง หรือป่าพรุ เป็นต้น
แพะพื้นเมืองเป็นแพะที่มีขนาดตัวเล็ก ลักษณะของแพะมักจะค่อนข้างแปรผันมากทั้งในส่วนของขนาด รูปร่าง และสีสันของลำตัวแพะ คือมีมากมายหลายสีตั้งแต่ สีเหลือง แดงน้ำตาลแดง น้ำตาลเข้ม ดำ หรืออาจมีลักษณะแบบสีผสม เช่น ขาวน้ำตาล ขาวดำ น้ำตาลดำอาจพบลำตัวแพะมีลายจุด หรือลายเป็นวง เป็นแต้ม หรือมีลายกระด่างกระดำ มีการผสมสีกันจนสีของลำตัวดูเปรอะไปทั้งตัว เป็นตัน
ลักษณะนิสัยแพะพื้นเมืองจะค่อนข้างร่าเริงและมีความอดทนสูงต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหลายอย่าง เช่น สภาพอากาศร้อน หรือความชื้นที่มีมากจากสภาพฝนตกชุกในเขตภาคใต้ของไทย แพะพื้นเมืองมีขนาดเล็กจึงทำให้ปราดเปรียว คล่องตัวในการซอกแซกหากินใบไม้ตามพุ่มไม้และปีนป่ายคล่องแคล่ว เชื่อง ไม่ตื่นคน หากินเก่ง กินอาหารได้หลากหลายทั้งผลพลอยได้ทางการเกษตร เศษพืชผัก หรือเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน แพะพื้นเมืองจะค่อนข้างเป็นสัดเร็ว แต่ก็เลี้ยงลูกเก่ง สอนลูกให้หากินได้เร็ว ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นของแพะพื้นเมืองนั่นเอง
ลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะ
ลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะโดยทั่วไปสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ด้วยกันคือ
- การเลี้ยงแบบผูกล่าม การเลี้ยงแบบนี้ใช้ช็อกผูกล่มที่คอแพะแล้วนำไปผูกให้แพะหาหญ้ากิน รอบบริเวณที่ผูก โดยปกติเชื่อกที่ใช้ผูกกล่าม แพะมักมีความยาวประมาณ 5-10 เมตร การเลี้ยงแบบนี้ผู้เลี้ยงจะต้องมีน้ำและอหารแร่ธาตุไว้ให้แพะกินเป็นประจำด้วย ในเวลากลางคืนก็ต้องนำแพะกลับไปเลี้ยงไว้ในดอกหรือเพิงที่มีที่หลบฝน การผูกล่ามแพะควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาที่แพะสามารถหลบแดดหรือฝนไว้บ้าง หากจะให้ดีเมื่อเกิดฝนตกกวรได้นำแพะกลับเข้าเลี้ยงในดอกโรงเรือนเลี้ยงแพะ
- การเลี้ยงแบบปล่อย การเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรมักปล่อยแพะให้ออกหาอาหารกินในเวลากลางวัน โดยเจ้าของจะคอยดูแลตลอดเวลาหรือเป็นบางเวลาท่านั้นลักษณะการเลี้ยงเเบบนี้เป็นที่นิยมลี้ยงกันมากในบ้านเรา เพราะเป็นการเลี้ยงที่ประหยัด เกษตรกรไม่ต้องตัดหญ้ามาลี้ยงแพะ การปล่อยแพะหาอาหารกินอาจปล่อยในแปลงผักหลังการเก็บเกี่ยว หรือปล่อยให้กินหญ้าในสวนยาง แต่จะต้องระมัดระวังอย่าให้แพะเที่ยวทำความเสียหายให้แก่พืชที่เกษตรกรเพาะปลูก ทั้งนี้เพราะแพะกินพืชได้หลายชนิด การปล่อยแพะออกหาอาหารกินไม่ควรปล่อยในเวลาที่แดคร้อนจัดหรือฝนตก เพราะแพะอาจเจ็บป๋วยได้ โดยปกติเกษตรกรมักปล่อยแพะหาอาหารกินตอนสายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเที่ยง หรือปล่อยเพะออกหาอาหารกินตอนบ่ายแล้วไถ่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเย็น หากพื้นที่ที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์แพะจะกินอาหารเพียง 1-2 ชั่วโมง ก็เพียงพอแล้ว
- การเลี้ยงแบบขังคอก การเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรขังแพะไว้ในคอก รอบ ๆ คอกอาจมีแปลงหญ้าและมีรั้วรอบแปลงหญ้าเพื่อให้แพะได้ออกกินหญ้าในแปลง บางครั้งเกษตรกรต้องตัดหญ้าเนเปียส์หรือกินนีให้แพะกินบ้าง ในคอกต้องมีน้ำและอาหารข้นให้กิน การเลี้ยงวิธีนี้ประหยัดพื้นที่และแรงานในการดูแลเพะ แต่ต้องลงทุนสูง เกษตรกรจึงไม่นิยมทำการเลี้ยงกัน
- การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช การเลี้ยงเเบบนี้ทำการเลี้ยงได้ 3 ลักษณะที่กล่าวข้างต้น แต่การเลี้ยงลักษณะนี้เกษตรกรจะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมัน และปลูกมะพร้าว ในภาคใต้ของประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากที่ทำการเลี้ยงแพะควบคู่ไปกับการทำสวนยาง โดยให้แพะทากินหญ้าใด้ต้นยางที่มีขนาดโตพอสมควร การเลี้ยงแบบนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการพาะปลูกเพียงอย่างเดียว
โรงเรือนและอุปกรณ์ในการเลี้ยงแพะ
เเพะก็เหมือนสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ คือจะต้องมีสถานที่สำหรับแพะได้พักอาศัย หลบแดด หลบฝน หรือเป็นที่สำหรับนอนในเวลากลางคืน การสร้างโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงแพะควรได้ยึดหลักดังต่อไปนี้
- พื้นที่ตั้งของดอก คอกแพะควรอยู่ในที่เนินน้ำไม่ท่วมชัง แต่ถ้าหากพื้นที่ที่ทำการเลี้ยงแพะมีน้ำท่วมขังเวลาฝนตก ก็ควรสร้างโรงเรือนแพะให้สูงจากพื้นดินตามความเหมาะสม แต่ทางเดินสำหรับแพะขึ้นลงไม่ควรมีความลาดสูงกว่า 46 องศา เพราะหากสูงมากแพะจะไม่ค่อยกล้าขึ้นลงพื้นดอกที่ยกระดับจากพื้นดินควรทำเป็นร่อง โดยใช้ไม้ขนาดหนา 1 นิ้วกว้าง 2 นิ้ว ปูพื้นให้เว้นร่องระหว่างไม้แต่ละอันห่างกันประมาณ 5 เชนติเมตร หรืออางจะใช้พื้นตอนกรีต โดยปูพื้นดอกเพะด้วยสแลตที่ปูพื้นกอกสุกรก็ได้พื้นที่เป็นร่องนี้จะทำให้มูลของแพะตกลงข้างล่าง พื้นคอกจะแท้งและสะอาดอยู่เสมอ
- ผนังคอก ผนังคอกแพะควรสร้างให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ผนังคอกควรมีความสูงไม่ต่ำกว่า 5 เมตร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้แพะกระโดดหรือปืนข้ามออกไปได้
- หลังคาโรงเรือน แบบของหลังคาโรงเรือนเลี้ยงแพะมีหลายเเบบ เช่น เพิงหมาแหงน หรือ แบบหน้าจั่ว เกษตรกรที่จะสร้างควรเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และทุนทรัพย์ หลังคาโดยปกติมักจะสร้างให้สูงจากพื้นดอกประมาณ 2 เมตร ไม่ควรสร้างโรงเรือนให้หลังคาต่ำเกินไปเพราะอาจทำให้ร้อนและอากาศถ่ายทไม่ดี สำหรับวัสดุที่ใช้มุงหลังคาจะใช้จากหรือแฝก หรือสังกะสีก็ได้
- ความต้องการพื้นที่ของแพะ แพะมีความต้องการพื้นที่ในการอยู่อาศัยในโรงเรือนประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือนออกเป็นออก ๆ แต่ละคอกขังแพะรวมฝูงกันประมาณ 10 ตัว โดยคัดขนาดของแพะให้ใกล้เคียงกันขังรวมฝูงกัน แต่ถ้าหากเห็นว่าสิ้นเปลืองคำาก่อสร้างก็อาจขังแพะรวมกันเป็นฝูงใหญ่ในโรงเรือนเดียวกันโดยไม่แบ่งเป็นคอก ๆ ก็ได้
อาหารแพะ
แพะสามารถกินหญ้าสด หญ้าแห้ง ใบไม้ จัดให้กินได้เต็มที่ หากเสริมอาหารข้นทำเอง หรือธัญพืชบ้าง และเสริมแร่ธาตุก้อน จะทำให้แพะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ให้นมสำหรับเลี้ยงลูกมากขึ้น
การดูแลสุขภาพของแพะ
ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงแพะก็คือ แพะมักมีสุขภาพไม่ดีเจ็บป่วยและตาย ทำให้ผู้เลี้ยงเสียหาย ทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหานี้ก็คือผู้เลี้ยงต้องหมั่นเอาใจใส่และดูแลในเรื่องสุขภาพของแพะดังต่อไปนี้
- กำจัดพยาธิภายนอก พยาธิภายนอกที่สำคัญของแพะได้แก่พวกเห็บ เหา หมัด และไร ซึ่งนอกจากจะทำความรำคาญให้แก่แพะแล้วอาจทำให้ขนแพะหลุดเป็นหย่อม 1 หรือเป็นโรคเรื้อนตามมา หากแพะถูกรบกวนด้วยพยาธิภายนอกดังกถ่าวก็จะทำให้สุขภาพไม่ดี ไห้ผลผลิตต่ำ การกำจัดพยาธิภายนอกนี้ทำได้โดยการหมั่นอาบน้ำและฉีดพ่นบริเวณลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก
- กำจัดพยาธิภายใน พยาธิภายในที่สำคัญของแพะได้แก่พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตึด และพยาธิไบไม้ในตับ ซึ่งพยาธิเหล่านี้จะทำให้แพะซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน การให้น้ำนมลดลงถ้าเป็นรุนแรงทำให้แพะมีอาการโลหิตจาง และตาย การกำจัดพยาธิภายในทำได้โดยการถ่ายพยาธิเมื่อแพะมีอายุได้ 3 เดือน และทำสม่ำเสมอประมาณ 2 เดือนต่อครั้ง ปัจจุบันมียาถ่ายพยาธิที่สามารถถ่ายพยาธิทั้ง 3 ชนิดในครั้งเดียวได้ จึงทำให้การถ่ายพยาธิสะดวกขึ้นมาก
- การป้องกันโรคระบาดในแพะ โรคระบาดที่สำคัญในแพะและกรมปศุสัตว์สามารถผลิตวักซึนเพื่อป้องกันโรคได้ มีอยู่ 2 โรคด้วยกันคือ
- โรคปากและเท้าเปื่อยในแพะ โรคนี้เป็นกับสัตว์ถีบคู่ทุกชนิด เมื่อเป็นแล้วทำให้เกิดความเสียหาย และระบาดแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ผู้เลี้ยงแพะควรทำการฉีดวัคชีนนี้ให้แก่เพะที่เลี้ยงอยู่เสมอโดยครั้งแรกทำการดเมื่อแพะอายุได้ 3 เดือน และฉีดครั้งต่อไปเว้นระยะทุก 4-6 เดือน
- โรคเฮโมราชิกเขพติกซีเมีย แพะมักป่วยเป็นโรคนี้ในฤดูฝนโรคนี้อาจทำให้แพะตายและสามารถเพร่โรคไปสู่แพะตัวอื่นได้ การป้องกันโรคนี้สามารถทำได้โดยการฉีดวัดซึนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่แพะอายุได้ 3 เดือน และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง