การเลี้ยงเป็ดเทศ สำหรับมือใหม่
การเลี้ยงเป็ดเทศ
เป็ดเทศเป็นเป็ดพื้นเมืองพันธุ์เนื้อที่เลี้ยงง่าย เติบโตเร็วสามารถใช้อาหารและวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเลี้ยงได้เป็นอย่างดีให้ผลตอบแทนในระยะเวลาอันสั้น สามารถจำหน่ายได้ง่าย ทั้งที่เป็นเป็ดมีชีวิตและเนื้อเป็ดชำแหละ เนื้อเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคในท้องถิ่นโดยทั่วไป จึงสามารถจำหน่ายได้ง่ายในตลาดท้องถิ่นเกษตรกรสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมร่วมกับอาชีพอื่นๆ ได้
ขั้นตอน การเลี้ยงเป็ดเทศ
พันธุ์เป็ดเป็ด
ในปัจจุบันพันธุ์เป็ดเทศที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงและลาดมีความต้องการได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์บาร์บารี่
- พันธุ์พื้นเมือง (Native ducks) เป็ดที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยมี 2 สายพันธุ์ ได้แก่
- เป็ดนครปฐม เลี้ยงกันมากในเขตจังหวัดนครปฐม เพชรบุรี สุพรรณบุรี และในพื้นที่ลุ่มในภาคกลางซึ่งเป็นเขตน้ำจืด ตัวเมียมีขนสีลายกาบอ้อย ปากสีเทา เท้าสีส้ม ตัวผู้จะมีสีเขียวแก่ตั้งแต่คอไปถึงหัว รอบดอมีวงรอบสีขาว อกสีแดง ลำตัวสีเทา ปากสีเทา และเท้าสีสัม ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีหนักประมาณ 3.0-3.5 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 2.5-3.0 กิโลกรัม เริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน
- เป็ดปากน้ำ เลี้ยงกันมากในเขตจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทราและชลบุรี ตลอดจนจังหวัดที่อยู่ชายฝั่งทะเลอื่น ๆ เป็นเป็ดพันธุ์เล็ก ตัวเมีย มีปาก เท้า และขนปกคลุมลำตัวสีดำ อกสีขาว ส่วนตัวผู้จะมีขนบนหัวและคอสีเขียวเป็นเหลือบเงา มีลำตัวขนาดเล็กกว่าเป็ดนครปฐม ให้ไข่ฟองเล็กกว่า เริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน ตัวผู้ของเป็ดพันธุ์พื้นเมืองนิยมนำไปเลี้ยงเป็นเป็ดเนื้อ
- เป็ดบาบารี่ เป็นเป็ดที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเป็ดเทศพันธุ์พื้นเมือง เพศเมีย กับเป็ดเทศพันธุ์บาบารี่ 100% แล้วนำลูกเป็ดเทสเพศเมีย ที่ได้ไปผสมกับเป็ดเพศพ่อ พันธุ์บาบารี่ 100% อีกครั้งหนึ่ง จะได้เป็ดเทศลูกผสมสายเลือดบาบารี่ 75% มีลักษณะเด่นคือเป็นเป็ดเนื้อลูกผสมที่มีโครงการใหญ่เนื้อมาก ไขมันต่ำ ไร้กลิ่นสาป เนื้อตัวสะอาดทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่นเดียวกับเป็ดพื้นเมืองธรรมดา แต่มีข้อดีคือ เลี้ยงง่าย โตเร็ว สามารถใช้อาหารที่หาตามท้องถิ่นได้ ออกไข่ปีละ 4-5 ชุด ๆ ละประมาณ 20 ฟอง สามารถฟักไข่ได้เอง และเลี้ยงลูกเก่ง ข้อสำคัญ จำหน่ายได้ราคาดีเป็นที่ต้องการของตลาด
โรงเรือนและอุปกรณ์ในการเลี้ยง
โรงเรือนควรทำจากไม้หรือวัสดุที่หาง่ยในท้องถิ่น หลังคามุงด้วยจาก หญ้าคา หรือแฝกขนาดของโรงเรือน 1 ตารางเมตร สามารถใช้เลี้ยงเดเทศได้ 4 ตัว ลักษณะโรงเรือนที่ดีตั้งอยู่ในทิศตะวันออก-ตะวันตก ภายในโรงเรือนต้องมีภาชนะรางน้ำอาหารอย่างเพียงพอกับจำนวนเป็ดที่เลี้ยงต้องมีลานปล่อยสำหรับให้เป็ดเทศออกกำลังกายและหอาหารตามธรรมชาติกิน
การจัดการเลี้ยงดูเป็ด
โดยทั่วไปการเลี้ยงเป็ดเทศใช้วิธีระบบการเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย ควรเริ่มด้วยการซื้อพ่อพันธุ์มาเลี้ยง อัตราพ่อแม่พันธุ์ที่เหมาะสม ควรใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 5-7 ตัว อาหารสำหรับเลี้ยงเป็ดเทศจะใช้อาหารสำเร็จรูปหรือผสมอาหารใช้เองก็ได้ แต่อาหารต้องมีโภชนะตามความต้องการของเป็ดในแต่ละระยะการเจริญเติบโต เสริมด้วยพืชอาหารหยาบเพื่อลดต้นทุนและควรมีการปล่อยเลี้ยง เพื่อให้เป็ดหาอาหารตามธรมชาติเพิ่มเติม แม่เป็ดจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 24-28 สัปดาห์ การฟักไข่อาจปล่อยให้แม่เป็ดฟักตามธรรมชาติหรือแยกนำไข่มาฟักโดยใช้ตู้ฟัก ซึ่งจะทำให้ผลการฟักออกดีขึ้นแต่ผู้เลี้ยงต้องมีความชำนาญในการใช้ตู้ฟัก โดยเฉลี่ยเป็ดเทศจะให้ลูกเดได้ปีละ 4 รุ่นๆ ละประมาณ 14-15 ตัว ในการเลี้ยงควรมีน้ำสะอาดและอาหารให้กินตลอดเวลา และหมั่นทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำเป็นประจำควรดูแลสุขภาพและทำวัคซีน ตามโปรแกรมที่กำหนตเพื่อให้การเลี้ยงดูประสบผลสำเร็จแสะไต้ผลทำไรเต็มที่ผลผลิตของเป็ดเทศที่จำหน่ายสู่ตลาดอาจจำหน่ายได้ทั้งลูกเป็ดที่ฟักออก หรือเลี้ยงขุนจนเป็ดมีอายุ 70-90 วัน แล้วจำหน่ายเป็ดเนื้อโดยจะมีขนาดน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยตัวละ 2.5-3 กิโลกรัม
การจัดการเลี้ยงดูเป็ดเทศในระยะต่างๆ
- การเลี้ยงเป็ดเล็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 สัปดาหั) เมื่อถูกเป็ดเกิตใหม่ๆ จะต้องให้ความอบอุ่นและเลี้ยงดูอย่างตึ เพื่อให้ลูกเป็ดแข็งแรง ดังนั้น จึงตวรเขาใจใส่ในระยะแรกนี้เป็นพิเศษ โดยปกติลูกเป็ดอายุ แรกเกิด – 3 สัปตาห์ ต้องการความอบอุ่นโดยการกกหรือให้แม่เป็ดเลี้ยงลูกเป็ด รวมทั้งอาหารที่มีคุณภาพ น้ำสะอาด
- การเลี้ยงเป็ดเทศรุ่น (อายุ 4 – 12 สัปดาห์) ลูกเป็ดอายุครบ 3 สัปดาห์ ความต้องการความอบอุ่นลดลง เพราะลูกเป็ดมีขนขึ้นเต็มลำตัว แตะลูกเป็ดกินอาหารได้ดีจนสามารถสร้างความอบอุ่นชื้นได้เองอย่างพอเพียง ลูกเป็ดอายุ 4 – 8 สัปดาห์ จะมีการเจริญเติบโตสูง ต้องการอาหารจำนวนมาก จึงต้องให้อาหารและน้ำเต็มที่
- การเลี้ยงดูเป็ดอายุ 13 – 24 สัปดาห์ จะเข้าสู่วัยหนุ่ม – สาว เป็ดจะกินอาหารมากขึ้นแต่เจริญเติบโตน้อย ดังนั้น ควรให้อาหารเพียงพอสำหรับรักษาขนาดให้มีน้ำหนักเพิ่มเล็กน้อยและให้หญ้าลด ผักลดหรือผักตบชวาเสริม เพื่อช่วยลดตันทุนการผสิต มีน้ำที่สะอาดตั้งไว้กินอยู่ตลยดเวลา
- การเลี้ยงเป็ดเทศพ่อ – แม่พันธุ์ เป็ดเทศจะเริ่มไข่เมื่อายุ 28 สัปดาห์ (7 เตือน) การเลี้ยงดูช่วงนี้ต้องเอาใจใส่ โดยเฉพาะการให้อาหาร วันหนึ่งให้อาหาร 2 ครั้ง เช้าและเย็น เพื่อให้เป็ดเทศได้กินอาหารและสามารถใช้ประโยชน์ไห้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็ดแม่พันธุ์ช่วงกำลังไข่จะต้องการอาหารมาก แต่เมื่อไข่แล้วปริมาณความต้องการอาหารจะลดลง การไข่ของเป็ดเทศปีหนึ่งๆ จะไข่ประมาณ 4 – 5 ชุด ชุดหนึ่ง 15 -20 พ่อง เป็ดเทศสามารถให้ไข่ได้ดีในช่วงอายุ 2 ปี ของการให้ไข่ หลังจากนั้น การให้ไข่จะลดลง แม่เป็ดชอบไข่ในที่มืดและสงบไม่ชอบให้ตัวอื่นมารบกวนรังไข่ ดังนั้น ในคอกเป็ดพันธุ์ควรจะมีรังไข่ รองรังไข่ด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง รังไข่อาจใช้กระบะไม้ หรือโอ่งจัดไว้ในมุมมืดของคอก รังไข่ 1 รัง ต่อแม่เป็ด 2 -3 ตัว จะช่วยให้เป็ดไข่ใด้ดี และไม่แย่งรังกันไข่มีผัก หญ้าสด หรือผักตบชวา น้ำสะอาดให้กินอยู่ตลอดเวลาจะช่วยลดต้นทุน และประหยัดอาหาร
โรคแสะการป้องกันโรค
- โรคอหิวาต์ ต้องทำวัคชีนอหิวาห์เป็ด ครั้งแรกเมื่อเป็ดอายุ 3 สัปดาห์ และทำช้ำทุก 3 เดือน โดยฉีดเข้ากล้าม ตัวตะ 1 ชีซี
- โรคกาฟโรคเป็ด จะต้องทำวัคซีนกาฬโรคเป็ดครั้งแรก เมื่อเป็ดอายุ 3 – 4 สัปดาห์ จากนั้นทำวัคชีน ดังรายละเอียดตามตาราง โดยการฉีดเข้ากล้าม ตัวละ 1 ชีชี
ต้นทุนและผลตอบแทน
สำหรับการเลี้ยงเป็ดบาร์บารี่ จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย พ่อพันธุ์ จำนวน 10 ตัว แม่พันธุ์ จำนวน50 ตัว
- ต้นทุน
ต้นทุนหลักซึ่งเป็นต้นทุนคงที่จะได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนและจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 -20,000 บาท ส่วนตันทุนผันแปรซึ่งเป็นค่าพันธุ์ ค่อาหารค่าวัคซีนและเวชภัณฑ์ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อปี - ผลตอบแทน
- จะได้จากการจำหน่ายลูกเป็ดเทศที่ผลิตได้ ประมาณ 50-60 ตัวต่อตัวต่อปี ซึ่งจะจำหน่ายได้ในราคาตัวละ 20-25 บาท คิดเป็นผลตอบแทน 1,200-1,500 บาทต่อแม่ต่อปี
- การจำหน่ายเป็ดใหญ่ที่เลี้ยงจนโต ขนาดน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยตัวละ 2.5-3 กิโลกรัม จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 50-55 บาท คิดเป็นผลตอบแทนตัวละ 125-165 บาท
อย่างไรก็ตาม ต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการตลาดและแหล่งที่เลี้ยง อาทิ ราคาพันธุ์เป็ดอาหารและราคารับซื้อผลผลิตของแต่ละตลาด และขนาดการผลิตดังนั้น เกษตรกรจะต้องศึกษาข้อมูลและรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลี้ยง
อ้างที่มา : กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร , www.sarakaset.com
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง