บทความเกษตร » การผลิตทุเรียนนอกฤดู เพิ่มผลผลิต ราคาดี

การผลิตทุเรียนนอกฤดู เพิ่มผลผลิต ราคาดี

28 กุมภาพันธ์ 2023
750   0

การผลิตทุเรียนนอกฤดู เพิ่มผลผลิต ราคาดี

การผลิตทุเรียนนอกฤดู

การผลิตทุเรียนนอกฤดู


ทุเรียน เป็นไม้ผลเมืองร้อนเศรษฐกิจของไทย เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของชาวต่างประเทศ ทั้งในและ นอกกลุ่มประเทศอาเชียน ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถส่งออกทุเรียนในอันดับต้นๆ ทั้งมีโอกาสขยายตลาดการส่งออกได้ดีมาก ทั้งตลาดเก่าและตลาดใหม่มีความต้องการของตลาดตลอดทั้งปี ทำให้การผลิตทุเรียนนอกฤดูกาลจึงเป็นวิถีทางที่จะช่วยกระจายปริมาณผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ทั้งปี เพิ่มโอกาส ให้ประเทศมีส่วนแบ่งในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้นยังผลให้ประเทศไทยได้ดุลทางการค้าตามไปด้วย เป็นโอกาสที่จะช่วยให้ราคาผลผลิตทุเรียนในช่วงฤดูกาลไม่ตกต่ำ และช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนได้มากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนและวิธีการผลิตนอกฤดู

พันธุ์ทุเรียนเพื่อการผลิตนอกฤดู ได้แก่

  • พันธุ์หมอนทอง

    เป็นทุเรียนพันธุ์ยอดนิยมที่ผู้บริโภคชาวไทยและชาวต่างประเทศชื่นชอบ อีกทั้งตอบสนองต่อการทำนอกฤดูได้ดี ติดผลดก ระยะเวลาสุกแก่ปานกลาง เนื้อหนาสีเหลือง เมล็ดลีบ รสชาติหวานมัน

  • พันธุ์กระดุม

    เป็นทุเรียนพันธุ์เบาที่สามารถทำการผลิตนอกฤดูเพื่อส่งออกในช่วงต้นฤดู ติดผลดก สุกแก่เร็ว ผลเล็ก เนื้อสีเหลืองเข้มละเอียดรสชาติหวานแหลม กลิ่นหอม

อายุที่เหมาะสมต่อการทำการผลิตนอกฤดู

ดังนั้นการทำนอกฤดูจึงต้องคัดเลือกต้นทุเรียนที่มีสภาพต้นสมบูรณ์เต็มที่ ใบเขียวเข้ม หนาแน่น ควรมีอายุอย่างน้อย 8 – 15 ปี ทรงพุ่ม 8 – 12 เมตร

การเลือกช่วงเวลาการผลิต

สามารถทำได้ 2 ช่วงตามสภาพพื้นที่ ภาคตะวันออกช่วงกุมภาพันธ์ – มีนาคม และภาคใต้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม – กุมภาพันซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ไม่มีผลผลิตทุเรียนในฤดูกาลและเป็นช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ และคริสมาสต์

วิธีการผลิตนอกฤดู

หลังจากได้ทำการคัดต้นที่สมบูรณ์พร้อมจะทำการผลิตนอกฤดูแล้ว ดำเนินการดังนี้

  • การเตรียมพร้อมของต้นทุเรียน แบ่งออกเป็น 2 ระยะดังนี้
    • การกระตุ้นการแตกใบอ่อน ชุดที่ 1
      ปลิดดอกทุเรียนในฤดูกาล ช่วงระยะหัวตาปูและเหยียดตีนหนู ออกให้หมด ใส่สารฮิวมิคแอซิค อัตรา 1,000 มิลลิลิตร ผสมกับปุ้ย 3-20-10 อัตรา 300-500 กรัมผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นลงดินด้วยเครื่องพ่นสารเคมีแรงดันสูง 3 ครั้งทุกๆ 7 วันและ ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา3-4 กิโลกรัมต่อต้น ผสมกับปุ้ย 30-0-0 จำนวน 1 กิโลกรัม หรือปุ๋ย15-0-0 โดยคลุกเคล้ากันแล้วหว่านลงดินใต้ทรงพุ่ม ห่างจากโคนต้น50-70 เซนติเมตร ทำการแต่งกิ่งแห้ง กิ่งน้ำค้าง กิ่งฉีกหัก กิ่งแซมในทรงพุ่มออก
    • กระตุ้นเพื่อการแตกใบอ่อนชุดที่ 2 หลังจากใบอ่อน
      ชุดแรกแก่เต็มที่ อายุประมาณ 45 – 60 วันแล้ว ให้ทำการกระตุ้นให้ทุเรียนแตกใบอ่อนชุดที่ 2 โดยการให้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 46-0-0 หรือ30-20-10 หรือ 20-20-20 ฉีดพ่นทางใบ 2 – 3 ครั้ง ห่างกัน 7 – 10 วัน จากนั้นให้สารกระตุ้นการแตกใบอ่อนด้วย นูรโปร อัตรา 300 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ให้สารเสริมที่มีแมกนีเชียมสูงด้วย เอมอนต์ อัตรา 300 มิลลิลิตร หรือ โดแม็ค อาหารเสริมที่มีสังกะสีสูง 150 – 300 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หลังจากนั้นทุเรียนจะแตกใบอ่อนภายใน 10 – 15 วัน
  • การบังคับการออกดอก ด้วยการพ่นสารพาโคลบิวทราโซล
    • ความเข้มข้นสารพโคลบิวทราโซลที่ใช้ 1,000 – 1,500 ppm (ถ้าสาร ชนิด 10 อัตราที่ใช้ 200 – 300 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือชนิด 25 % อัตรา 80 – 120 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • การป้องกันกำจัดโรคแมลงที่สำคัญ

แมลงศัตรูสำคัญ ได้แก่
เพลี้ยไก่แจ้

    • เพลี้ยไก่แจ้
      ป้องกันกำจัดกำจัดในระยะทุเรียนแตกใบอ่อน ควรฉีดพ่นคาร์บาริล (เซฟวิน 85 % WP) อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร (ผสมสารจับใบ) หลังฉีดพ่นแล้วยังพบแมลงต้องทำการฉีดซ้ำอีก

    • ไรแดง
      ป้องกันกำจัดโดยการให้ทำการฉีดพ่นด้วยโพรพาร์ไกต์ 30% WP อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ เฮกซีไทอะซอกซ์ 2% EC อัตรา 40มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตรหรือ อามีทราซ 20% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 – 10 วัน
    • หนอนกัดกินใบอ่อน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ป้องกันกำจัดโดยให้ฉีดพ่นสารเคมี คาร์บาริล หรือ เซฟวิน 85%WP อัตรา 30 – 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

โรคสำคัญ ได้แก่

    • โรคแอนแทรคโนส
      โดยฉีดพ่นสารเคมีชนิดป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนโนมิล 50 WP อัตรา 15 – 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร แคปแทน 50% WP 30 – 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 62% WP อัตรา 40 – 110 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
      โรคจากเชื้อราไฟทอปธอร่า
    • โรคจากเชื้อราไฟทอปธอร่า
      การทำลายที่ใบให้พ่นด้วยสารเมทาแลคซิล 25 % WP อัตรา 50 – 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสเอทธิล อะลูมินั่ม 80% WP อัตรา 80 – 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสฟอรัส แอซิด อัตรา 50 มิลลิสิตร/น้ำ 20 ลิตร ให้ทั้งภายในและภายนอกทรงพุ่ม การทำลายที่รากให้ใช้สารเมทาแลคซิล 80% WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว และกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากด้วยการพ่นปุ้ยเกล็ดที่มีจุลธาตุผสมอยู่ด้วยสูตร 15 – 30 – 15 หรือ 20 – 20 – 20 อัตรา 60 กรัม ผสมกรดฮิวมิค แอซิด อัตรา 100 มิลลิลิตร ในน้ำ 20 ลิตร
  • การกระตุ้นการออกดอก
    ฉีดพ่นด้วยสารไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 1,500 ppm (30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร) บริเวณท้องกิ่ง ตรงจุด ที่ดอกอ่อนระยะไข่ปลา ระวังอย่าให้ถูกใบ อาจทำให้ใบไหม้และร่วง
  • การขึ้นน้ำทุเรียน
    ควรปฏิบัติอย่างสำเสมอ เพื่อให้ดอกทุเรียนโตสม่ำเสมอดีควรปฏิบัติอย่างถูกต้อง

    • ระยะช่วงแทงดอก
      การพัฒนาของดอกในระยะไข่ปลาถึงหัวตาปู จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน ซึ่งดอกจะยาวประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร จำเป็นต้องให้น้ำแก่ทุเรียนในปริมาณมาก เพื่อกระตุ้นให้ดอกทุเรียนโตสม่ำเสมอดีแล้ว ควรลดปริมาณการให้น้ำวันเว้นวันในช่วงฝนทิ้งช่วง
    • ระยะก่อนดอกบาน-ดอกบาน
      ระยะดอกหัวกำไลเป็นช่วงที่ทุเรียนต้องการน้ำมาก ประมาณ 5-6 ลิตร/ตารางเมตร ถ้าให้น้ำน้อยไม่เพียงพอทำให้กลุ่มดอกกลางเล็กน้อย น้ำพอดี กลุ่มดอกจะกลางออกปานกลาง หากน้ำมาก กลุ่มช่อดอกโดยก้านช่อดอกกลางออกมากอย่างเห็นได้ชัด
    • ช่วงระยะดอกบาน
      ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่มีผลต่อการติดผลของทุเรียนมาก ถ้ามีฝนตกหรือการให้น้ำมากเกินไปดอกที่กำลังจะบานจะหลุดร่วงมาก ดังนั้นชาวสวนควรให้น้ำระยะนี้ประมาณ 3 ลิตร/พื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร/วัน ทั้งนี้หากปลูกทฺเรียนระยะ 8 x 8 พื้นที่ทรงพุ่ม 64 ตารางเมตร ความต้องการใช้น้ำ = 64 x 3 เท่ากับ 192 ลิตรต่อต้น/วัน ควรคุมปริมาณน้ำ ไปจนถึงช่วงระยะดอกบาน จนกลีบดอกร่วงหมดแล้ว ทั้งต้นจึงเพิ่มปริมาณการให้น้ำในปริมาณปกติ
  • การช่วยผสมเกสร
    เพื่อให้ทุเรียนที่ผลิตได้มีคุณภาพดี รูปทรงสวยงามเนื้อมากพูเต็ม เกษตรกรควรทำการผสมเกสรทุเรียนในช่วงเวลาดอกบานเวลาที่เหมาะสมควรเริ่มตั้งแต่ 19.00 – 19.30 น. เป็นต้นไป
  • การจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล
    ตัดแต่งดอกให้เป็นรุ่นเดียวกัน โดยกระจายจำนวนดอกทั้งต้นให้เหลืออยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับขนาดต้นและทรงพุ่ม และ การให้ปุ๊ยช่วงพัฒนาการออกดอกระยะไข่ปลาถึงดอกบานเพื่อให้ดอกทุเรียนมีการพัฒนาที่สมบูรณ์และติดผลมีคุณภาพ ควรมีการให้ปุ๋ยทางด่วนผสมกับธาตุแคลเซียมในระยะ 1-2 สัปดาห์ ก่อนดอกบาน
  • การตัดแต่งผล
    เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ผลทุเรียนนอกฤดูมีคุณภาพมีขนาดรูปทรงไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด ดังนั้นการตัดแต่งกึ่งจึงเป็นการกำจัดผลทุเรียนที่ด้อยคุณภาพทิ้งตั้งแต่หลังติดผล ทำให้การกระจายของผลทุเรียนมีความสัมพันธ์กับทรงพุ่มจึงได้ผลสม่ำเสมอ
  • การเก็บเกี่ยว
    การที่จะได้ผลทุเรียนที่มีคุณภาพ ควรเก็บเกี่ยวทุเรียนที่มีความสุกแก่ที่เหมาะสมกับตลาดผู้บริโภค และระยะทางในการขนส่งโดยให้ถึงมือผู้บริโภคแล้วสุกพอดี โดยมีดัชนีการเก็บเกี่ยวทุเรียน ดังนี้

    • โดยนับอายุผลวันดอกบาน – วันเก็บเกี่ยว หมอนทอง 120 – 135 วัน ให้สังเกตก้านผลจะแข็งและด้าน สัมผัสรู้สึกสากมือ ปลิงบวมโต เห็นรอยต่อของปลิงอย่างชัดเจน จับก้านผลแกว่ง รู้สึกก้านผล มีสปริงมากขึ้น หนามใหญ่ ปลายหนามแห้ง สีเขียวอมนวลหรือสีเขียวอมเหลือง
    • เห็นแนวแบ่งกลางพู (เส้นสาแหรก) ได้เด่นชัดเคาะที่กลางพูเสียดังโป่งๆ
    • ชิมน้ำเลี้ยงบริเวณขั้วปลิง (เมื่อตัดขั้วใหม่และยังมีน้ำใส)จะมีรสหวาน แสดงว่าผลทุเรียนแก่จัด แต่ถ้าจืดหรือฝาดแสดงว่าทุเรียนนั้นอ่อนสีเนื้อเปลี่ยนจากสีขาวเป็นเหลืองอ่อนหรือเข้มตามลักษณะประจำพันธุ์
    • สีเปลือกเมล็ดเปลี่ยนจากขาวอมชมพูเป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อสุกมีรสชาติหวานผลทุเรียนเริ่มสุกที่บนต้นหรือร่วงหล่นลงมา เนื่องจากสุกแก่ตามธรรมชาติ แสดงว่าทุเรียนเริ่มแก่จัดแล้ว

ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง