เทคนิคการ ปลูกกระชายดำ และดูแลรักษา
ปลูกกระชายดำ
กระชายดำ เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในสีม่วงเข้ม มีกลิ่นหอม ใบ เดี่ยวออกเรียงสลับแงออกจากใต้ดิน รูปไข่หรือรูปรึ กว้าง 5-10 ชม. 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น หลังใบเรียบ ท้องใบเรียบสีม่วงแดง ก้านใบยาวสีม่วงแดง ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกสวนโดนเชื่อมเป็นหลอดยาว 3-3.2 เชนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตรยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วงดอกขนาดเล็กสีขาว โดนเชื่อมติดกันมีแต้มสีม่วงเข้ม ที่ปากดอกด้านล่าง มีกาบใบหุ้มดอก
การกระจายพันธุ์
กระชายดำมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากในจังหวัดเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่น ทางภาดเหนือ
สรรพคุณกระชายดำ
เหง้า รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด หรือโขลกผสมกับน้ำหรือสุราเป็นยาแก้ตานซาง รักษาโรคเด็ก แก้บิด และแก้ปวงทุกชนิด เหง้าของกระชายดำจะมีรสขมและ เผ็ดร้อน สามารถบริโภคได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่ให้สรรพคุณแต่ละเพศที่ต่างกันเล็กน้อย ซึ่งถ้าผู้ชายรับประทานในปริมาณที่ เหมาะสม จะช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชายและกระตุ้นประสาทให้มีความกระชุ่มกระชวยมากขึ้น บำรุงกำลังและออกฤทธิ์เป็นยากระษัย ช่วยคลายความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ แก้อาการนอนไม่หลับในช่วงเวลากลางคืน และยังมีสรรพคุณด้านการบำรุงหัวใจ โดยทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวมากขึ้น รักษาความดันโลหิตสูง บำรุงธาตุในร่างกายได้ดี ขับบิด และบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอึด และท้องเฟ้อในขณะที่ผู้หญิงรับประทานกระชายดำ จะช่วยบำรุงโลหิตให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณจึงแลดูผุดผ่องสดใส ขับประจำเดือนที่มาไม่ปกติให้ทำงานกลับมาปกติ แก้ปัญหาเกี่ยวกับระดูขาว แก้โรคมดลูกพิการหรือมดลูกที่หย่อนดล้อย บรรเทาอาการมือเท้าเย็น รักษาอาการเหน็บชาและปวดตามข้อต่างๆ เหง้า รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด หรือโขลกผสมกับน้ำหรือสุราเป็นยาแก้ตานซาง รักษาโรคเด็ก แก้บิด และแก้ปวงทุกชนิดเหง้าของกระชายดำจะมีรสขมและ เผ็ดร้อน สามารถบริโภคได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่ให้สรรพคุณ แต่ละเพศที่ต่างกันเล็กน้อย ซึ่งถ้าผู้ชายรับประทานในปริมาณที่ เหมาะสม จะช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชายและกระตุ้นประสาทให้มีความกระชุ่มกระชวยมากขึ้น บำรุงกำลังและออกฤทธิ์เป็นยากระษัย ช่วยคลายความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ แก้อาการนอนไม่หลับในช่วงเวลากลางคืน และยังมีสรรพคุณด้านการบำรุงหัวใจ โดยทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวมากขึ้น รักษาความดันโลหิตสูง บำรุงธาตุในร่างกายได้ดี ขับบิดและบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอึด และท้องเฟ้อ
ในขณะที่ผู้หญิงรับประทานกระชายดำ จะช่วยบำรุงโลหิตให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณจึงแลดูผุดผ่องสดใส ขับประจำเดือนที่มาไม่ปกติให้ทำงานกลับมาปกติ แก้ปัญหาเกี่ยวกับระดูขาว แก้โรคมดลูกพิการหรือมดลูกที่หย่อนดล้อย บรรเทาอาการมือเท้าเย็น รักษาอาการเหน็บชาและปวดตามข้อต่างๆ
การเตรียมการก่อน ปลูกกระชายดำ
การเตรียมดิน
ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบทิ้งไว้ 10-15 วัน ไถพรวน 2 ครั้งตากดินไว้ 3 สัปดาห์
การเตรียมพันธุ์
- พันธุ์กระชายดำจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือสายพันธุ์ใบแดง มีเนื้อในเหงาสีเข้ม และสายพันธุ์ใบเขียว มีเนื้อในเหงาสีจาง กรมวิชาการเกษตรได้ขึ้นทะเบียนกระชายดำไว้ 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ภูเรือ 10 (สายพันธุ์ใบแดง) และภูเรือ 12 (สายพันธุ์ใบเขียว) สายพันธุ์ภูเรือ 10 เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดและมีคุณภาพดี
- ใช้หัวแก่จัด อายุ 1 1-12 เดือน เก็บรักษาในห้องเย็น 1- 3 เดือน
การปลูกกระชายดำ
วิธีปลูกกระชายดำ
- ยกแปลงกว้าง 1.50 เมตร สูงประมาณ 25 เซนติเมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร แล้วนำหัวพันธุ์ลงปลูกประมาณ 2-3 หัว กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มหัวกระชายดำจะมีหลายแง่ง ให้หักออกมาเป็นแง่งๆ ก่อนนำไปปลูก ควรทารอยแผลของแง่งที่ถูกหักออกมาด้วยปูนกินหมาก หรือจุ่มในน้ำยากันเชื้อรา แล้วผึ่งในที่ร่มจนหมาดหรือแห้งแล้วจึงนำไปปลูก
ระยะปลูก
- ระยะห่างระหว่างต้น 30×30 เซนติเมตร ใช้หัวพันธุ์ประมาณ 200-250 กิโลกรัมต่อไร่
การดูแลรักษากระชายดำ
การใส่ปุ๋ย
- ใช้ปุ๋ยคอกมูลไก่ผสมแกลบรองพื้น หรือใช้ปุ๋ยชีวภาพฉีดพ่นพร้อมกับการกำจัดวัชพืชและพรวนดินเมื่อมีใบ 2-3 ใบ และให้อีกครั้งเมื่อกระชายดำเริ่มออกดอก ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีกับกระชายดำ
การให้น้ำ
- ให้รดน้ำพอชุ่มแต่ไม่แฉะ และอย่าให้น้ำขัง
โรคและศัตรูที่สำคัญ
วัชพืช : ไม่พบว่ามีวัชพืชใดทำให้เกิดความเสียหายรุนแรง หากพบให้ถอนทำลาย
โรค : โรคเหี่ยวหรือโรคหัวเน่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum จะทำให้ต้นมีอาการใบเหลือง ต้นเหี่ยว และหัวเน่าในที่สุด
การป้องกันกำจัด : หากพบโรคให้ถอนเก็บส่วนที่เป็นโรคเผาทิ้งทำลายนอกแปลงปลูก การป้องกันโรค ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปลอดจากโรค ไม่ปลูกช้ำที่เดิม ปลูกหมุนเวียนทุกปีด้วยพืชตระกูลถั่ว หรือพืชหมุนเวียนอื่นๆ ในแหล่งที่มีการระบาดของโรค ให้อบดินฆ่าเชื้อในดินโดยใช้ยูเรีย และปูนขาว อัตรา 80:100 กิโลกรัมต่อไร่โรยและคลุกเคล้าดินในแปลงปลูก แล้วใช้พลาสติกสีดำคลุมแปลงอบดินไว้เป็นเวลา 3 สัปดาห์ก่อนปลูก
การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
- เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 240 – 360 วัน สังเกตจากใบและลำต้นจะเริ่มเหี่ยวแห้งและหลุดออกจากต้น โดยใช้จอบหรือเสียมขุดหัวกระชายดำขึ้นมา
- เคาะดินให้หลุดออกจากหัว จากนั้นตัดราก และนำไปล้างน้ำให้สะอาด ผึ้งลมให้แห้ง นำมาทำแห้งโดยทั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปตากแดด หรืออบให้แห้งโดยใช้เครื่องอบ ด้วยอุณหภูมิ 55 องศาเซลเชียส นำไปบรรจุถุงพลาสติกใส 2 ชั้น ปิดปากให้สนิท นำเข้าเก็บในห้องที่สะอาด ไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทดี
ประโยชน์ของกระชายดำ
ในปัจจุบันนอกจากเราจะใช้กระชายดำเพื่อเป็นยาสมุนไพรทั้งแบบหัวสดและ แบบแห้ง ยังมีการนำไปบดเป็นผงบรรจุชองไว้ชงกับน้ำร้อนเพื่อใช้เป็นเครื่ องดื่มเสริมสุขภาพ “น้ำกระชายดำ” และยังนำมาทำเป็น “ลูกอมกระชายดำ” แต่ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันก็คือการนำมาทำเป็น “ไวน์กระชายดำ” หรือนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพร “กระชายตำแคปซูล” (แคปชุลกระชายดำ), “กระชายดำผง”, “ยาน้ำกระชายดำ”หรือแปรรูปเป็น “กาแฟกระชายดำ”
แหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
- สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, เอกสารคู่มือการปลูก
- สมุนไพรที่เหมาะสม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2553
- สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, เอกสารคู่มือการปลูกพืซสมุนไพรเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 2548 ,http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=22 , www.kasetbanna.com
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง